คำอธิบาย : ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 (มาตรา 39 ค. (3) และ (4) กำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีวิทยฐานะเชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ แต่ข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติคือ ก.ค.ศ.กำหนดมาตรฐานประจำตำแหน่งของผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง ผอ.เขต ไว้แค่ว่าเป็นรอง ผอ.เขต ไม่น้อยกว่า 1 ปี (โดยไม่คำนึงถึงการมีวิทยฐานะ) รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของอันดับ คศ.4 ก็สามารถสอบเป็น ผอ.เขตได้ (แต่ถ้าเป็น ผอ.โรงเรียนจะสอบเป็น ผอ.เขตต้องระดับเชี่ยวชาญ)
เราจึงพบว่าทุกวันนี้ ผอ.เขตที่วิทยฐานะเชี่ยวชาญทั้งประเทศมีแค่ประมาณ10% ของจำนวน ผอ.เขตทั้งหมด ที่เหลือ90%เป็นวิทยฐานะรอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษ/ผอ.ชำนาญการ/ไม่มีวิทยฐานะ
เอกสารประกอบ >> ดูจากคำสั่งแต่งตั้ง. ผอ.เขตล่าสุด 110 รายเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2560 >> [ดาวน์โหลดคำสั่งแต่งตั้ง ผอ.เขต]
จะพบว่ามี ผอ.เขตเชี่ยวชาญแค่. 12 ราย.(เกือบทั้งหมดมาจาก ผอ.โรงเรียน) ไม่มีวิทยฐานะ 1 ราย และวิทยฐานะรอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษมีถึง 98 ราย
ข้อมูลที่อ้างอิงนี้ นำมาจากคำสั่งแต่งตั้งผอ.เขตซึ่งเป็นข้อมูลเผยแพร่ทางเว็บไซต์เป็นข้อมูลสาธารณะทุกคนมีสิทธิรับรู้.และส่วนใหญ่คนที่ดำรงตำแหน่ง ผอ.เขตส่วนน้อยที่หลังแต่งตั้งแล้วจะได้รับวิทยฐานะสูงขึ้น (มีบ้างแต่น้อย) ส่วนใหญ่ก็เกษียณที่วิทยฐานะรอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษ/ไม่มีวิทยฐานะ
เหตุผลเพราะอะไร? คำตอบคือ ไม่ว่าเดิมจะมีวิทยฐานะหรือไม่ เมื่อแต่งตั้งเป็น ผอ.เขตก็ให้ได้รับเงินเดือน คศ.4 ได้ทุกคนทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญตามที่ พ.ร.บ. กำหนด จึงเป็นข้อมูลที่น่าสนใจที่ขอนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ที่มา : นภัทร อินทรุณ : นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ ที่ สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ [https://www.facebook.com/napat.intaroon] เว็บ Krusmart.Com ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ซึ่งขอแสดงทัศนะเพิ่มเติมว่า เส้นทางสู่การเป็น ผอ. เขต นั้น มีหลายเส้นทาง หากประสงค์จะเข้าสู่ตำแหน่งดังกล่าวรวดเร็ว (โดยไม่ต้องรอวิทยฐานะ ผอ. เชี่ยวชาญ) ก็ควรข้ามจาก ผอ.โรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน (ที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ) ไปสอบเป็น รอง ผอ. เขต แล้วจากนั้น ก็รอคุณสมบัติที่จะสอบ ผอ. เขต ต่อไป