1. คำสำคัญที่มักใช้ในความหมายเดียวกันกับ “สมรรถนะ” คือคำในข้อใด
ก. คุณภาพ (Quality)
X ศักยภาพ (Potential)
ค. ประสิทธิภาพ (Efficiency)
ง. คุณลักษณะ (Attribute)
2. เป้าหมายและหลักการสำคัญในการศึกษาบทเรียน (Lesson study) คือข้อใด
ก. การปรับปรุงพฤติกรรมการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ
ข. การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน
X การศึกษาและปรับปรุงแผนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
ง. การพัฒนาสมรรถนะการทำงานของศึกษานิเทศก์
3. ข้อใดคือ องค์ประกอบของคำว่า “สมรรถนะ”
ก. คุณภาพ คุณลักษณะ คุณธรรม
ข. ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สัมฤทธิ์ผล
X. ความรู้ ทักษะ เจตคติหรือแรงจูงใจ
ง. มาตรฐาน ภาระงาน วิสัยทัศน์
4. ผลการวิจัยเชิงประเมินพบว่ากระบวนการออก แบบการสอนและการจัดการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับสมรรถนะของครูและสัมพันธ์กับ สมรรถนะการนิเทศการเรียนรู้ของศึกษานิเทศก์ มีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.833 หมายความว่าอย่างไร
ก. สมรรถนะของครูขึ้นอยู่กับสมรรถนะศึกษานิเทศก์ร้อยละ 83
ข. คุณภาพการสอนของครูเกิดจากการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ร้อยละ 83
ค. สมรรถนะศึกษานิเทศก์เท่ากับสมรรถนะของครูผู้สอนร้อยละ 83
X คุณภาพการออกแบบการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กับการนิเทศการเรียนรู้ของศึกษานิเทศก์ร้อยละ 83
5. เต็มใจ ภาคภูมิใจ และมีความสุขในการได้ไปเยี่ยมชั้น สังเกตการณ์สอนและทำกิจกรรมพัฒนาโครงการค่ายภาษาอังกฤษ เป็นพฤติกรรมเด่นชัดของสมรรถนะใด
X การทำงานเป็นทีม (Team work)
ข. การบริการที่ดี (Service Mind)
ค. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (Working Achievement Motivation)
ง. การพัฒนาตนเอง (Self-Development)
6. จากคำกล่าวที่ว่า “ศึกษานิเทศก์จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของโลกาภิวัฒน์” มีกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ในนโยบายของรัฐบาลตามข้อใดในระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2555
ก. โครงการพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นำทางวิชาการผู้บริหารและยกระดับคุณภาพครูแนวใหม่ครูดี ครูเก่ง (Master Teacher)
ข. โครงการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่ โดยพัฒนาศึกษานิเทศก์ คัดผลงานวัตกรรมนิเทศดีเด่น
ค. พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบ E-Training
X ถูกทุกข้อ
7. ประโยชน์ของการวิจัยเพื่อการพัฒนาการนิเทศการศึกษา ตรวจสอบได้และมีหลักฐานยืนยันได้จากอะไร
ก. การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ข. การเผยแพร่ในวงวิชาการ
X ความถูกต้องตามหลักวิชาการ
ง. ความสมบรูณ์ของเนื้อหาสาระการวิจัย
8. “ความรู้ความเข้าใจเนื้อหา ผนวกวิธีการสอนที่เหมาะสม” (Pedagogical Contents Knowledge : PCK) เป็นองค์ประกอบสมรรถนะที่สำคัญด้านใดของศึกษานิเทศก์
ก. ทักษะการสอนและเจตคติที่ดีต่อการนิเทศ
ข. ความรู้ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะทั่วไปของครู
ค. ความรู้ในเรื่องที่สอนกับทักษะในการเรียนของนักเรียน
X ความรู้ในเนื้อหาที่สอน และความรู้ในวิธีการสอน
9. การให้คำปรึกษา (Mentoring) ชี้แนะ (Coaching) และช่วยแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนแก่ครูของศึกษานิเทศก์มีสิ่งใดเป็นข้อมูล หลักฐานและร่องรอยคุณภาพการปฏิบัติงาน
ก. แผนกลยุทธ์ปฏิบัติการนิเทศการศึกษา
X แบบสังเกตการสอน
ค. รายงานการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล
ง. แฟ้มบันทึกการนิเทศ
10. การพัฒนาครูในระหว่างปฏิบัติงาน (In service Training) โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา (School Based Management)เป็นภารกิจหลักของบุคลากรสายงานใด
ก. ครูแห่งชาติ สายงานการสอน
ข. อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา สายงานคณาจารย์ระดับอุดมศึกษา
X ศึกษานิเทศก์ สายงานนิเทศการศึกษา
ง. ผู้บริหารโรงเรียน สายงานบริหารการศึกษา
11. บทบาทหน้าที่หลักของศึกษานิเทศก์สัมพันธ์กับสมรรถนะประจำสายงายของศึกษานิเทศก์ในข้อใด
ก. การนิเทศเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
ข. การวิเคราะห์วิจัยทางการศึกษา
X การสื่อสารและการจูงใจ
ง. การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ
12. “สมรรถนะการสื่อสารและแรงจูงใจ” ของศึกษานิเทศก์ สามารถชี้วัดได้จากพฤติกรรมข้อใด
ก. มีความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
ข. มีการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและสร้างเครือข่ายการพัฒนา
X มีความสามารถในการพูด และเขียนในโอกาสต่าง ๆ
ง. มีความสามารถแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม
13. จากผลการวิจัยของ Gottesman.B. พบว่าสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ที่ใช้เทคนิควิธีการนิเทศการศึกษาแบบใด ทำให้เกิดความรู้ ความจดจำที่คงทนยาวนาน เกิดผล 90%
X การชี้แนะการสอนงาน (Coaching)
ข. การให้ความรู้เชิงทฤษฎี (Theory)
ค. การเป็นแบบอย่าง (Modeling)
ง. . การสาธิต (Demonstration)
14. ข้อใดเป็นพฤติกรรม “ความรับผิดชอบในวิชาชีพ” ของศึกษานิเทศก์
ก. แม้เป็นงานที่ยุ่งยากทำไม่เสร็จ เขาก็ยังขอผัดผ่อนทำงานต่อไป
ข. เขาไม่ยอมทำงานอื่นนอกจากงานในหน้าที่ของเขา
ค. เขาวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของตนทั้งทางบวกและลบ
X เขาพยายามรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงานอย่างคงเส้นคงวา
15. การนิเทศการศึกษามีความหมายที่สมบูรณ์ที่สุดในข้อใด
ก. เป็นระบบบริการอย่างหนึ่งที่จัดไว้ให้แก่ระบบการศึกษา
ข. ความพยายามและความร่วมมือทุกชนิดที่บุคคลจัดให้ครู
ค. การร่วมมือกระตุ้นให้คำแนะนำแก่ครูและนักเรียน
X ระบบพฤติกรรมขององค์กรที่ทำงานมุ่งผลกระทบสู่พฤติกรรมการสอนของครู