คณะครูที่เข้าร่วมโครงการครุวิจัยสิ่งแวดล้อม ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม (เมื่อปี พ.ศ. 2550) มีทั้งสิ้น 27 คน ซึ่งเป็นคณะครูที่มาจากหลายจังหวัด ทั่วประเทศ และที่ศูนย์วิจัยแห่งนี้ คณะครูจะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับป่าไม้ที่ป่าชุมชนโคกหินลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม วัดคุณภาพของน้ำโดยใช้ดัชนีชีวภาพ ปริมาณธาตุอาหารในดิน ซึ่งมีครู สควค. 5 คน เข้าร่วมโครงการและมีผลงานรวมถึงเรื่องราวดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้
2. นางสาวละออ ผิวทน โรงเรียนน้อมเกล้า อ. เลิงนกทา จ.ยโสธร วิจัยเรื่อง “ความหลากชนิดของพรรณไม้ยืนต้นและการใช้ประโยชน์ของชุมชน : กรณีศึกษา ป่าชุมชนโคกหินลาด” ผลการศึกษา พบไม้ยืนต้น 23 วงศ์ 37 ชนิด ไม้หนุ่ม 12 วงศ์ 16 ชนิด และกล้าไม้ 13 วงศ์ 17 ชนิด พรรณไม้ยืนต้นที่มีค่าความสำคัญน้อยที่สุดคือ บก สะแบง หมากเบน จากผลการวิจัยได้นำไปสร้างสื่อการเรียนรู้วิชาชีววิทยาและได้ต้นแบบการวิจัยเชิงสำรวจ ของนักเรียนด้วย
3. นายศรชัย พุทธชัย โรงเรียนยูงทองพิทยาคม อ.นายูง จ.อุดรธานี วิจัยเรื่อง “โครงสร้างของสังคมพืชและการจับกลุ่มของพืชพื้นล่าง บริเวณป่าชุมชนโคกหินลาด” วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของพรรณไม้พื้นล่าง บริเวณป่าชุมชนโคกหินลาด และระดับชั้นของการจับกลุ่มของพรรณไม้พื้นล่าง ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ นับจำนวน วัดระดับชั้นการจับกลุ่มของพรรณไม้พื้นล่างแต่ละชนิด เก็บตัวอย่างและถ่ายรูปพรรณไม้พื้นล่างที่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้ แล้วนำมาจัดจำแนกโดยการศึกษาจากเอกสารคู่มือพรรณไม้ และสอบถามหมอยาพื้นบ้าน พร้อมทั้งระบุประโยชน์ของพรรณไม้พื้นล่างแต่ละชนิด ผลการศึกษา พบว่า ในแปลงตัวอย่างพบพรรณไม้พื้นล่างทั้งสิ้น 27 วงศ์ 37 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ Euphorbiaceae ส่วนชนิดที่พบมากที่สุด คือ หญ้าเพ็ก(Victnamosasa pusilla (Chevalier&A Camus)Nguyen) และถ้าชนิดใดระดับชั้นของการจับกลุ่มมีค่าสูง ชนิดนั้นจะมีดัชนีความสำคัญมากและถ้าชนิดใดมีระดับชั้นของการจัดกลุ่มต่ำ ชนิดนั้นจะมีดัชนีความสำคัญน้อย โดยหญ้าเพ็ก มีระดับชั้นของการจับกลุ่มสูงที่สุด ป่าชุมชนโคกหินลาด เป็นป่าที่เพิ่งกำลังฟื้นตัว ดังนั้น ความอุดมสมบูรณ์จึงยังมีน้อย ค่าดัชนีความหลากชนิด และดัชนีการกระจายตัวจึงมีค่าน้อย และช่วงเวลาที่ทำการศึกษาเป็นฤดูแล้ง พรรณไม้พื้นล่างบางชนิดยังอยู่ในระยะพักตัวไม่เจริญเติบโต พรรณไม้พื้นล่างที่สำรวจพบจึงมีค่อนข้างน้อยชนิด
1) เปรียบเทียบสีดิน เนื้อดิน เปอร์เซ็นต์ความชื้น และความเป็นกรด-ด่าง
2) เปรียบเทียบปริมาณแอมโมเนียม ไนเตรต ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ระหว่างดินนาที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี ในชุมชนบ้านดอนแดง อ. กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
ผลการศึกษา พบว่า ดินนาที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีสีแดงปนเหลือง เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย เปอร์เซ็นต์ความชื้นเท่ากับ 8.33±0.34 ค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในระดับกรด ปานกลาง ปริมาณแอมโมเนียมและฟอสฟอรัสปานกลาง ปริมาณไนเตรตและโพแทสเซียมต่ำ ส่วนดินนาที่ใช้ปุ๋ยเคมีมีสีน้ำตาลปนแดง(5YR 5/4) เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย เปอร์เซ็นต์ความชื้นเท่ากับ 7.02±0.06 ค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในระดับกรดจัด ปริมาณแอมโมเนียมและโพแทสเซียมต่ำ ปริมาณไนเตรตและฟอสฟอรัสต่ำมาก จากผลการวิจัยเห็นว่าเปอร์เซ็นต์ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณแอมโมเนียม ไนเตรต และฟอสฟอรัสของดินนาที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีค่ามากกว่าดินนาที่ใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ดินนามีปริมาณธาตุอาหารเหลือมากกว่าดินนาที่ใช้ปุ๋ยเคมี จึงควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวให้มากขึ้น
จากการเข้าร่วมโครงการครุวิจัยในครั้งนี้ ทำให้เราได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรง อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนวิจัย การทำความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่แม้ว่าบางอย่าง เราไม่สามารถนำกลับมาใช้ที่โรงเรียนได้ แต่ก็ช่วยจุดประกายที่จะทำให้เรานำไปประยุกต์ใช้ได้ จากนั้นก็เป็นการลงมือทำวิจัย จนสำเร็จเป็นรายงานการวิจัย และผลพลอยได้ที่สร้างความภาคภูมิใจคือ ความรู้ที่เราสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง แนวทางการสร้างสรรค์องค์ความรู้ต่างๆ แนวคิดที่แตกต่าง ภูมิปัญญาที่น่าทึ่งของปราชญ์ชาวบ้าน น้ำใจที่เปี่ยมไปด้วยมิตรภาพ ความจริงใจ จากเพื่อนๆ พี่ๆ คณะวิจัยและวิทยากร ขอบคุณ สกว.และ ม.มหาสารคาม
ที่มา : วารสาร สควค. ฉบับที่ 3 (เมษายน-มิถุนายน 2550) หน้าที่ เขียนโดย ครูกนกวรรณ สุขใจ สควค.รุ่น 7 ครู ร.ร.ภูกระดึงวิทยาคม จ.เลย
ภาพประกอบจาก : วารสาร สควค. ฉบับที่ 3