1. การยอมรับและให้เกียรติครูผู้รับการนิเทศหรือทีมงาน เป็นทักษะที่ใช้ในขั้นตอนใดของการนิเทศการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ก. ขั้นการประเมินการนิเทศ
ข. ขั้นการสร้างความจริงใจ
ค. ขั้นการทบทวนสรุปผลการนิเทศ
ง. ขั้นการประชุมปฏิบัติการ
2. สมรรถนะประจำสายงานของศึกษานิเทศก์คือข้อใด
ก. การออกแบบการเรียนรู้
ข. การบริหารจัดการชั้นเรียน
ค. การสื่อสารและการจูงใจ
ง. การพัฒนาผู้เรียน
3. สมรรถนะหลัก (Core Competencies) ของวิชาชีพศึกษานิเทศก์ คือข้อใด
ก. การทำงานเป็นทีม
ข.การพัฒนาตนเอง
ค. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
ง. การบริการที่ดี
4. การวิเคราะห์จุดพัฒนาทำเพื่ออะไร
ก. เพื่อเลือกนวัตกรรมการนิเทศ
ข. เพื่อนิเทศการศึกษาให้เป็นระบบ
ค. เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการ
ง. เพื่อการจัดทำงานผลการนิเทศได้สะดวก
5. กระบวนการนิเทศการศึกษาแบบเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอนคืออะไร
ก. การเยี่ยมชั้นและสังเกตการสอนสมัยใหม่
ข. การสังเกตการสอนที่มีขั้นตอนและต่อเนื่อง
ค. การสังเกตการสอนอย่างง่ายที่ไร้รูปแบบ
ง. การปฏิบัติการเยี่ยมชั้นเรียนที่มีการนัดหมายล่วงหน้า
6. การใช้เทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ ครูเหตุผลและความจำเป็นอย่างไร
ก. เพราะนักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
ข. เพราะความรู้และวิชาการมีมากและครูมีภาระงานมาก
ค. เพราะความรู้ความสามารถของครูลดน้อยลง
ง. ผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีเวลานิเทศการเรียนรู้ครู
7. ข้อมูลจากแบบสังเกตการสอนนำมาใช้อย่างไร
ก. ตีความ สรุป เทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจของครูและนักเรียนกับแผนการเรียนรู้ที่ออกแบบ
ข. ทบทวน อภิปราย เทียบความพึงพอใจและมาตรฐานการเรียนรู้ที่ต้องการ
ค. วิเคราะห์ บุคลิกภาพการสอน วิธีการเรียนและการบรรยายการจัดการเรียนการสอน
ง. ถูกทุกข้อ
8. ประสบการณ์และบันทึกของครูชูใจข้อใดที่นำมาใช้กับเทคนิคการนิเทศ ”เทคนิคการ สังเกตการสอนและเยี่ยมชั้น ทำให้ผู้นิเทศมองเห็นพฤติกรรมการสอนของครู และความน่ารักตามที่นักเรียนเป็น”
ก. น้องสันติ เงียบขรึม นั่งหลังห้อง คอยหลบตาครู
ข. น้องสมชาย พูดจาไพเราะ เรียนภาษาไทยเก่งมาก
ค. น้องปุ๊ ขยันเรียน ทำงานช้า มองโลกในแง่ดี
ง. ถูกทุกข้อ
9. จากบันทึกของครูชูใจในข้อ 8 ศึกษานิเทศก์ ควรชี้แนะ (Coaches) และตระหนักในข้อใด
ก. บันทึกของครูชูใจไม่ได้ช่วยการสอนให้ดีขึ้นเลย
ข. บันทึกนี้ทำให้เด็กแต่ละคนรู้ว่าครูรักเขาทุกคนและทุกคนล้วนมีจุดเด่น
ค. ความแตกต่างของนักเรียนจะใช้วิธีสอนแบบเดี่ยวไม่ได้ ควรหาความหลากหลายและกำหนดระดับ
คุณภาพที่แตกต่าง
ง. เราเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่างกันได้และปรับให้เป็นแบบเดียวกันได้ไม่มากก็น้อย
10. ครูสมพรพูดว่า “นามสกุลนี้เรียนอ่อนแทบทุกคน ถ้าเป็นสมัยก่อนก็ตกและตกอีกไม่จบ ม. 3 หรอกครับ”
ศน. ชินกร : “แล้วครูสอนแก้อย่างไร ซ่อมเสริมหรือเปล่าครับ”
ครูสมพร : “ผมไม่ได้สอนเสริมหรือมีพิเศษอะไรหรอกครับ เชื่อผลเถอะ สอนไปก็เหนื่อยเปล่า.”
คำชี้แนะหลังการเยี่ยมชั้นข้อใดที่ควรใช้ :
ก. ครูออกแบบการสอนชนิดเดียว แต่วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ครูเชื่อว่าต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน
ข. วิชาชีพครูมีความเชื่อว่า นักเรียนทุกคนเรียนรู้ได้และพัฒนาได้แต่อาจไม่เท่ากัน
ค. ครูแต่ละคนมีความถนัดไม่เท่ากันแต่ต้องมีอารมณ์ สังคมและความต้องการเหมือนกัน
ง. จนปัญญาในการสอน ครูสมพรท้อแท้มากกว่า ผู้เรียนอย่างว่าเสียดายความเป็นครูคนเก่ง
11. ข้อมูลใดในแผนการเรียนรู้ ชี้บอกและควรตระหนักให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนมากที่สุด
ก. มาตรฐานการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและคุณค่าที่แผนการสอนต้องการ
ข. ประจักษ์พยานการสอน การยอมรับในหลักเกณฑ์ข้อทดสอบ ชิ้นงานและหลักการสังเกตการสอน
ค. กิจกรรมและประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ฝึกฝน คิดค้นและทบทวน นำเสนอ
ง. ถูกทุกข้อ
12. คุณค่าของข้อมูลในข้อ 11 ออกแบบให้ปรากฏในเครื่องมือนิเทศข้อใด
ก. แบบสังเกตการสอน
ข. คำชี้แนะการสอน
ค. แผนการจัดการเรียนการสอน
ง. บันทึกการสนทนา อภิปรายหลังการสังเกตการสอน
13. “ครูเก่งนักเรียนเก่ง ครูดีนักเรียนดี” คำกล่าวนี้สะกิดใจศึกษานิเทศก์ในเรื่องใดมากที่สุด
ก. ศน.ผจญ “ปีนี้ศึกษานิเทศก์เบญจพร จะเสนอผลงาน คศ.4 น่าจะทำเรื่องของเราให้มากๆนะค่ะ”
ข. ศน.สุเทียบ “ควรวิเคราะห์และเลือกจุดดีและจุดด้อย ปัญหาและความต้องการพัฒนาครูให้มีศักยภาพสูง
ส่งผลให้ครูสามารถพัฒนานักเรียนตรงกับปัญหามากที่สุด”
ค. ศน.ปิยะรัตน์ “ทำไม ศน.ผจญ จึงเสนอแผนนี้และทำไม ศน.สุเทียบ จึงคิดแบบนี้ ความคิดเห็นของ ศน. ผจญ
และ ศน.สุเทียบ ส่งผลถึงใครมากที่สุด น่าคิดนะค่ะ”
ง. ศน.วราภรณ์ “พี่ประเสริฐกลับมาจากอบรม SP2 เป็นอย่างไร ได้ความรู้และเทคนิคหรือ
ยุทธศาสตร์สมัยใหม่ๆ อะไรมาบ้าง เขากำลังสนใจเรื่องอะไรทุกวันนี้ครับ”
14. ข้อใดสร้างความมั่นใจให้ศึกษานิเทศก์ ชี้แนะ สอนงานและสังเกตการสอนของครูสาระการเรียนรู้ต่างๆ ได้ดีที่สุด
ก. แผนการนิเทศการศึกษาที่ออกแบบอย่างละเอียดรอบคอบ
ข. เครื่องมือการนิเทศที่หลากหลายและครบสาระการเรียนรู้
ค. ความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญในเรื่องการนิเทศและทักษะมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างทีมงาน
ง. การช่วยครูให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาต้องการแม้ว่าไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการ
15. ข้อใด ไม่ใช่ นวัตกรรมการนิเทศการสอน
ก. นุ๊ก นิเทศแบบทีมวิจัยชั้นเรียนโรงเรียนที่ใกล้กัน
ข. โหน่ง นิเทศสังเกตการสอนครูสมยศใช้ชุดฝึกอ่านคำควบกล้ำ
ค. หนิงชี้แนะครูประยงค์ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็ก ป.2 โดยใช้กระดาน กระดาษทรายและไหมพรมหลากสี
ง. นุชชวนครูอี๊ด ประดิษฐ์ตุ๊กตาผักตบชวาขายส่งร้าน OTOP
16. ครูคนใดควรได้รับการปรับปรุงการสอนมากที่สุด
ก. ครูอั๋น สั่งให้นักเรียนวาดภาพตามจินตนาการ
ข. ครูโจ้ แบ่งกลุ่มนักเรียนทดลองการศึกษา Indicator ความเป็นกรด – เบส จากวัชพืช
ค. ครูแอ๊ด พานักเรียนไปดูโรงงานผลิตนมพาสเจอไรด์
ง. ครูจิ๋ว ให้จดตามคำบอกเรื่อง การหาความจุของถังข้าวสาร
17. ปัจจัยภายใน (Intrinsic Factors) ที่ศึกษานิเทศก์ควรสร้างแรงจูงใจภายในให้ครู คือข้อใด
ก. ความสำเร็จของงานที่ปฏิบัติ
ข. การยอมรับจากครูและเพื่อนร่วมงาน
ค. ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่งาน
ง. มีโอกาสได้ประสบการณ์ใหม่ๆ
18. ขั้นตอนสุดท้าย (Post Coaching) ของเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ ศึกษานิเทศก์มีบทบาทอย่างไร
ก. สรุปผลชี้แนะ ยอมรับความสามารถของครูและให้โอกาสครู สรุปเพื่อปรับปรุงงาน
ข. ตกลงวางแผนร่วมกันในการกำหนดคำถามและประเด็นชี้แนะสอนงาน
ค. ชี้แนะ บอก ซักถาม พิจารณาผลงานแผนการสอนของครู
ง. ชี้แนะ รับฟัง ท้าท้ายและให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับครูและโรงเรียน
19. ใครนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก. ศรีผ่อง นิเทศแบบชี้แนะตามความต้องการของตน
ข. จันทร์เพ็ญ นิเทศแบบคลินิกอย่างเป็นกระบวนการ 3 ครั้ง
ค. ศรราม รายงานจุดเด่นและจุดด้อยของโรงเรียนแต่ละแห่งทุกเดือน
ง. ศรีผ่อง ทำแผนการนิเทศเสนอต่อ คณะกรรมการการนิเทศฯ(กต.ปน.เขตพื้นที่) ทุกปี
20. การทำงานโดยตรงกับครูของศึกษานิเทศก์โดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision) ในขั้นแรกคือทำอะไร อย่างไร
ก. พูดคุยกับครูก่อนเข้าสังเกตการสอนเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย จุดเด่น
แบบวิธีการบันทึกและแบบสังเกตการสอน
ข. วิเคราะห์และตีความผลงานของครู เช่น แผนการสอน ผลการทดสอบ แบบสังเกตการสอนเครื่องมือวัดผล
ค. การติชม ทบทวน อภิปราย สะท้อนผล สรุปอะไรคือจุดเด่น จุดด้อย และข้อเสนอแนะ
ง. สังเกตการสอนและบันทึกพฤติกรรมการสอน พฤติกรรมการเรียนและศึกษาข้อมูลบริบทของชั้นเรียน
และสาระการเรียนรู้
21. การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เป็นการวิจัยประเภทใด
ก. การวิจัยเชิงสำรวจ
ข. การวิจัยเชิงทดลอง
ค. การวิจัยกึ่งทดลอง
ง. ถูกทุกข้อ
22. Lesson Study มีนิยามและกระบวนการคล้ายคลึงกับข้อใด
ก. Classroom Study
ข. Professional Study
ค. Action Research Study
ง. ถูกทุกข้อ
23. ขั้นตอนแรกของกระบวนการ Lesson Study คือข้อใด
ก. การวางแผน
ข. การอภิปราย
ค. การสะท้อนผลบทเรียน
ง. การนำไปใช้และการสังเกต
24. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)
ก. การสรุปบทเรียน
ข. การปรับปรุงบทเรียน
ค. การพัฒนาการเรียนการสอน
ง. การปรับปรุงการเรียนการสอน
25. ข้อใดเป็นวงจรการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ที่ถูกต้อง
ก. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต==> สอนและสังเกต ==> สนทนาและทบทวน==> สนทนาและทบทวน==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
ค. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> สอนและสังเกต ==> วิเคราะห์และวางแผน==>สนทนาและทบทวน ==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
ง. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน ==> สอนและสังเกต ==> สนทนาและทบทวน==>สอนและสังเกต ==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
26. ข้อใดเป็นขั้นตอนกระบวนการพื้นฐานของ Lesson Study ที่ถูกต้อง
ก. วางแผน ==> นำไปใช้ ==> สังเกต ==> อภิปราย ==> สะท้อนผล
ข. วางแผน ==> สังเกต ==> อภิปราย ==> สะท้อนผล ==> นำไปใช้
ค. วางแผน ==> สังเกต ==> อภิปราย ==> นำไปใช้ ==> สะท้อนผล
ง. วางแผน ==> นำไปใช้ ==> สังเกต ==> สะท้อนผล ==> อภิปราย
27. วงจรของการศึกษาชั้นเรียนเริ่มต้นจากข้อใด
ก. การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Selecting a Focus)
ข. การวิเคราะห์และวางแผน (Planning the Lesson Study)
ค. การสนทนาและทบทวน (Revision Based on the Group’s Reflection)
ง. สอนและสังเกตการสอน (Teaching & Focused Observation of
Lesson Based on the Group’s Goals)
28. จะเริ่มต้นอย่างไรกับการวางแผนปฏิบัติการ Lesson Study
ก. พิจารณาเลือกบทเรียนที่จะพัฒนาร่วมกันเป็นเบื้องต้น
ข. เริ่มจากความสนใจของครูกลุ่มเล็ก ๆ ที่กระทำในประเด็นง่าย ๆ
ค. เริ่มเลือกหน่วยการสอนและวิเคราะห์ความต้องการของครูเป็นสำคัญ
ง. เริ่มจุดประสงค์/สาระที่มีปัญหาและความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญ
29. กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของการศึกษาชั้นเรียนคือข้อใด
ก. การวางแผน (Planning)
ข. ความร่วมมือ (Collaboration)
ค. การเรียนการสอน (Learning & Teaching)
ง. การทบทวนและสะท้อนผล (Revise & Reflection)
30. ประโยชน์สูงสุดที่เป็นคุณค่าของการศึกษาชั้นเรียนคือข้อใด
ก. เป็นหนึ่งกระบวนการร่วมมือครูเพื่อพัฒนางานและเลื่อนวิทยฐานะ
ข. การพัฒนาการเรียนการสอนในหน้าที่ครูอย่างต่อเนื่องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน
ค. การสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการเรียนการสอนที่เน้นความร่วมมือและพัฒนาศาสตร์การสอนให้เข้มแข็ง
ง. ยกระดับคุณภาพการสอนของครูและเพิ่มสมรรถภาพการเรียนรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้นด้วยกระบวนการวิจัย
เฉลย ข้อสอบศึกษานิเทศก์ จาก UTQ-225 นวัตกรรมการนิเทศ การศึกษาชั้นเรียน
1.ง, 2.ค, 3.ค, 4.ค, 5.ข, 6.ก, 7.ง, 8.ง, 9.ค, 10.ข
11.ง, 12.ง, 13.ข, 14.ข, 15.ง, 16.ง, 17.ค, 18.ก, 19.ข, 20.ก
21.ข, 22.ค, 23.ก, 24.ก, 25.ก, 26.ก, 27.ก, 28.ก, 29.ก, 30.ข
[พิเศษ] สนใจคู่มือเตรียมสอบศึกษานิเทศก์ 2564 ดูรายละเอียดที่นี่ คลิกเลย >> [คู่มือเตรียมสอบศึกษานิเทศก์]