KruSmart : ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ : ร่วมกันก้าวหน้า ทำการศึกษาคุณภาพ

[สำคัญ] มาตรฐานการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ มาตรฐานวิชาชีพศึกษานิเทศก์ จรรยาบรรณวิชาชีพศึกษานิเทศก์

มาตรฐานวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน คือ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน (จรรยาบรรณของวิชาชีพ)

โดยจรรยาบรรณของวิชาชีพได้มีการกำหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อประมวลพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างของการประพฤติปฏิบัติประกอบด้วย พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

ก. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

มาตรฐานความรู้ มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
๑. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองโดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
๑.๑ การนิเทศการศึกษา
๑.๒ นโยบายและการวางแผนการศึกษา
๑.๓ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน
๑.๔ การประกันคุณภาพการศึกษา

๑.๕ การบริหารจัดการการศึกษา
๑.๖ การวิจัยทางการศึกษา
๑.๗ กลวิธีการถ่ายทอดความรู้ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานทางวิชาการ
๑.๘ การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
๑.๙ คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา๒. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการนิเทศการศึกษา ที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง
๑. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๕ ปี หรือมีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษารวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี
๒. มีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและมีการเผยแพร่
มาตรฐานความรู้ สาระความรู้ สมรรถนะ
๑. การนิเทศการศึกษา ๑. หลักการและรูปแบบการนิเทศ
๒. วิธีการและกระบวนการนิเทศ
๓. กลยุทธ์การนิเทศการศึกษา
๓.๑ การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศการศึกษา
๓.๒ การสร้างทักษะในการนิเทศ
๓.๓ การใช้กลยุทธ์ในการนิเทศ

๓.๔ การนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการนิเทศ
๓.๕ การควบคุมและการประเมินเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา๔. การนิเทศภายใน
๑. สามารถวิเคราะห์ วิจัย ส่งเสริมให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา
๒. สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ การสอน และการบริหารจัดการการศึกษา
๓. สามารถประสาน สนับสนุน และเผยแพร่ผลงานด้านการนิเทศการศึกษาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. สามารถใช้เทคนิคการนิเทศได้อย่างหลากหลายด้วยความเป็นกัลยาณมิตร
๒. นโยบายและการวางแผนการศึกษา ๑. ระบบและทฤษฎีการวางแผน
๒. บริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
๓. แผนการศึกษาระดับชาติและระดับต่างๆ
๔. การวิเคราะห์และกำหนดนโยบายการศึกษา
๕. การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๖. การพัฒนาและประเมินนโยบายการศึกษา
๑. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลเพื่อจัดทำนโยบาย แผน และการติดตามประเมินผลด้านการศึกษา
๒. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและการวางแผนดำเนินงาน และการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา
๓. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งให้เกิดผลดี คุ้มค่าต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๓. การพัฒนาหลักสูตรและการสอน ๑. ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร
๒. การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
๓. หลักการพัฒนาหลักสูตร
๔. การจัดการเรียนรู้
๕. จิตวิทยาการศึกษา
๖. การวัดและการประเมินผล

๗. การจัดการศึกษาพิเศษ
๑. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
๒. สามารถสาธิต แนะนำครูให้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพของผู้เรียน
๓. สามารถประเมินหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
๔. การประกันคุณภาพการศึกษา ๑. การบริหารคุณภาพ๒. การประกันคุณภาพการศึกษา๓. มาตรฐานคุณภาพการศึกษา๔. กระบวนการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา ๑. สามารถศึกษา วิเคราะห์ วิจัยการจัดทำมาตรฐาน และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
๒. สามารถนิเทศ กำกับ ติดตาม  และประเมินผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
๓. สามารถให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และการวางระบบการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและพร้อมรับการประเมินภายนอก
๕. การบริหารจัดการการศึกษา ๑. หลักและระบบขอบข่ายการจัดการศึกษา
๒. หลักการบริหารจัดการการศึกษา    โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
๓. การปฏิรูปการศึกษา
๕. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
๑. สามารถให้คำปรึกษา แนะนำการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของการศึกษา
๒. สามารถนิเทศการบริหารจัดการสถานศึกษาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
๓. สามารถบริหารจัดการการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
๖. การวิจัยทางการศึกษา ๑. ระเบียบวิธีวิจัย๒. กระบวนการวิจัย๓. การนำผลการวิจัยไปใช้ ๑. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน
๒. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
๓. สามารถดำเนินการวิจัยเพื่อสร้าง องค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านการเรียนรู้และการจัดการศึกษา
๗. กลวิธีการถ่ายทอดความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานทางวิชาการ ๑. กลวิธีการนำเสนอความรู้ แนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมกับการเรียนรู้
๒. การเขียนรายงาน บทความ ผลงาน ผลการศึกษาค้นคว้า และอื่น ๆ
๓. การวิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิชาการอย่างสร้างสรรค์
๑. สามารถเขียนเอกสารทางวิชาการประเภทต่าง ๆ
๒. สามารถแนะนำและให้คำปรึกษา การเขียนเอกสารทางวิชาการแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา
๓. สามารถนำเสนอความรู้ แนวคิด ทฤษฎีด้วยวิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมต่อการเรียนรู้
๘. การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ๑. หลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๒. อินเทอร์เน็ต
๓. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
๔. ระบบมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์
๕. สำนักงานอัตโนมัติ
๑. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อการพัฒนาตนและการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสม๒. สามารถให้คำปรึกษา แนะนำการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาแก่สถานศึกษา
๙. คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับ   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ๑. คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
๒. จรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา
๓. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๑. ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา
๒. มีหลักธรรมในการนิเทศและประพฤติตนเป็นแบบอย่างทีดี

ข. มาตรฐานการปฏิบัติงานศึกษานิเทศก์

๑. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา
คุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญประการหนึ่งของศึกษานิเทศก์มืออาชีพ คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ ด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพ ได้แก่ การเป็นผู้ร่วมงาน การเป็นผู้จัดงานหรือกิจกรรม รวมทั้งการเป็นผู้เสนอผลงานและเผยแพร่ผลงาน เพื่อให้สมาชิกยอมรับและเห็นคุณประโยชน์ของศึกษานิเทศก์ที่มีต่อการพัฒนาองค์กร ตลอดจนการนำองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของสังคมโดยส่วนรวม
๒. ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศการศึกษา โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้รับการนิเทศ
ศึกษานิเทศก์มืออาชีพ  แสดงความรัก ความเมตตา และความปรารถนาดีต่อผู้รับการนิเทศด้วยการตัดสินใจในการทำงานต่าง ๆ เพื่อผลการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับการนิเทศ ศึกษานิเทศก์ต้องวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของตนกับผลที่จะเกิดแก่ผู้รับการนิเทศแล้วเลือกเฉพาะกิจกรรมที่จะนำไปสู่  ผลทางบวกเสมอ อีกทั้งระมัดระวังไม่ให้เกิดกิจกรรมที่มีผลทางลบโดยมิได้ตั้งใจเพื่อนำไปสู่ความไว้วางใจ ความศรัทธาของผู้รับการนิเทศที่มีต่อการนิเทศและเห็นประโยชน์ของการนิเทศ
๓. มุ่งมั่นพัฒนาผู้รับการนิเทศให้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจนเกิดผลต่อการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
คุณประโยชน์สำคัญของการนิเทศอยู่ที่ผู้รับการนิเทศได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนา จนเป็นผลให้เกิดการพัฒนาเต็มศักยภาพ  ศึกษานิเทศก์มืออาชีพต้องกำหนด ปรับเปลี่ยนแนวทางการนิเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้รับการนิเทศอย่างเต็มศักยภาพ โดยศึกษาจุดเด่น จุดด้อยของผู้รับการนิเทศกำหนดจุดที่จะพัฒนาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับการพัฒนาด้านนั้น ๆ แล้วใช้เทคนิคการนิเทศให้ผู้รับการนิเทศได้ลงมือปฏิบัติจริง ประเมิน ปรับปรุง ให้ผู้รับการนิเทศรู้ศักยภาพ เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับงาน  และลงมือปฏิบัติจนเป็นผลให้ศักยภาพของผู้รับการนิเทศและศึกษานิเทศก์เพิ่มพูนพัฒนา  ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง  นำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
๔. พัฒนาแผนการนิเทศให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
ศึกษานิเทศก์มืออาชีพวางแผนการนิเทศได้อย่างมียุทธศาสตร์  เหมาะสมกับเงื่อนไข  ข้อจำกัดของผู้รับการนิเทศ สอดคล้องกับนโยบาย แนวทาง และเป้าหมายของการพัฒนา เมื่อนำไปปฏิบัติจะเกิดผลต่อการพัฒนาอย่างแท้จริง แผนการนิเทศต้องมีกิจกรรมสำคัญที่นำไปสู่ผลของการพัฒนา ความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมกับผลงานถือเป็นคุณภาพสำคัญที่นำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูง มีความคุ้มค่าและเกิดผลจริง
๕. พัฒนาและใช้นวัตกรรมการนิเทศการศึกษาจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
นวัตกรรมการนิเทศเป็นเครื่องมือสำคัญของศึกษานิเทศก์ในการนำไปสู่ผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ ศึกษานิเทศก์มืออาชีพต้องมีความรู้ในการนิเทศแนวใหม่ ๆ เลือกและปรับปรุงใช้นวัตกรรมได้หลากหลาย ตรงกับสภาพการณ์ เงื่อนไข ข้อจำกัดของงานและผู้รับการนิเทศจนนำไปสู่ผลได้จริง เพื่อให้ผู้รับการนิเทศ ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ มีความภาคภูมิใจในผลงานร่วมกัน  และก้าวหน้าพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
๖. จัดกิจกรรมการนิเทศการศึกษาโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้รับการนิเทศ
ศึกษานิเทศก์มืออาชีพเลือกและใช้กิจกรรมการนิเทศที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของผู้รับการนิเทศ จนผู้รับการนิเทศมีนิสัยในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ศึกษานิเทศก์ต้องรู้จักเส้นพัฒนาของผู้รับการนิเทศและเพียรพยายามกระตุ้นยั่วยุท้าทายให้ผู้รับการนิเทศลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการพัฒนา ด้วยความรู้สึกประสบผลสำเร็จเป็นระยะๆ โดยพยามยามให้ผู้รับการนิเทศมีความรู้สึกเป็นเจ้าของการทำกิจกรรมและการพัฒนาของผู้รับการนิเทศเอง ขั้นตอนในการนิเทศควรเริ่มจาก การริเริ่ม การร่วมพัฒนา และการสนับสนุนข้อมูลให้กำลังใจให้ผู้รับการนิเทศค้นหาปฏิบัติ  ประเมิน และปรับปรุงงานต่าง ๆได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติ เกิดเป็นการพัฒนางานในภาวะปกติ  เป็นบุคลิกภาพถาวรของผู้รับการนิเทศตลอดไป รวมทั้งเกิดความชื่นชมและศรัทธาความสามารถของตน
๗. รายงานผลการนิเทศการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
ศึกษานิเทศก์มืออาชีพสามารถนำเสนอผลงานที่ได้ทำสำเร็จแล้ว  ด้วยการรายงานผลที่แสดงถึงการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ  ซึ่งครอบคลุมการกำหนดงานที่จะนำไปสู่ผลแห่งการพัฒนา  การลงมือปฏิบัติจริง  และผลที่ปรากฏมีหลักฐานยืนยันชัดเจน  การจัดทำรายงานเป็นโอกาสที่จะได้คิดทบทวนถึงงานที่ทำแล้วว่ามีข้อจำกัด  ผลดี  ผลเสีย  ผลกระทบที่มิได้ระวังไว้อย่างไร  ถ้าผลงานเป็นผลดีจะชื่นชม  ภาคภูมิใจได้ในส่วนใด  นำเสนอให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้อย่างไร  ถ้าผลงานยังไม่สมบูรณ์  จะปรับปรุงเพิ่มเติมได้อย่างไร  และจะนำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการทำงานต่อไปอย่างไร  คุณประโยชน์ของรายงานที่ดีย่อมนำไปสู่การประเมินตนเอง  การชื่นชมความสามารถของผู้ปฏิบัติ  การเรียนรู้เกี่ยวกับความสามารถ  และศักยภาพของ      ผู้ปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดการยอมรับและชื่นชมในความสามารถของตน
๘. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ศึกษานิเทศก์มีภารกิจในการพัฒนาผู้รับการนิเทศโดยการให้คำปรึกษา แนะนำ หรือจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้รับการนิเทศปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมสำคัญตามเงื่อนไขที่ผู้นิเทศเสนอแนะ  ดังนั้น ผู้นิเทศต้องประพฤติปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์เสียก่อน เพื่อให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือกิจกรรมนั้น ๆ มีน้ำหนัก มีความสำคัญน่าเชื่อถือ  ผู้นิเทศก์จำเป็นต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งบุคลิกภาพ การปฏิบัติตน  มีคุณธรรมจริยธรรม  จะช่วยให้ผู้รับการนิเทศเชื่อถือศรัทธาต่อการนิเทศการศึกษา และปฏิบัติตามด้วยความพึงพอใจ
๙. ร่วมพัฒนางานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
ศึกษานิเทศก์มืออาชีพร่วมพัฒนางานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ เสนอแนวทางปรับปรุงที่ดีกว่าเดิม แนะนำการปฏิบัติที่เป็นผลดีกว่าเดิม ไม่หยุดอยู่เพียงการวิพากษ์วิจารณ์  แต่จะชี้นำแนวทางการแก้ปัญหา ที่นำไปสู่ผลดี เป็นผู้สามารถร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมปฏิบัติ เพื่อพัฒนางานขององค์กร เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน  ด้วยความเต็มใจ เต็มความรู้ความสามารถและคาดหวังผลที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้น โดยตระหนักถึงความสำคัญ ยอมรับในความรู้ความสามารถและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยในการทำงาน  ที่จะนำไปสู่ผลงานที่ดีที่สุดอยู่เสมอ เป็นที่ยอมรับของผู้รับการนิเทศและผู้ร่วมงาน จนผู้รับการนิเทศเกิดศรัทธาต่อการนิเทศ  การปรับปรุงงานและการร่วมงานกับผู้อื่น
๑๐. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
ความประทับใจของผู้รับการนิเทศที่มีต่อผู้นิเทศอย่างหนึ่ง คือ ความเป็นผู้รอบรู้  ทันสมัย และทันโลก ศึกษานิเทศก์มืออาชีพต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกทุกด้านจนสามารถสนทนากับผู้อื่นด้วยข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยและนำข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนางานและพัฒนาผู้รับการนิเทศ การตื่นตัว การรับรู้ และการมีข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้ นอกจากเป็นประโยชน์ต่องานนิเทศแล้ว ยังนำมาซึ่งการยอมรับและความรู้สึกเชื่อถือของผู้รับการนิเทศ อันเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ลึกซึ้งต่อเนื่องต่อไป
๑๑. เป็นผู้นำและสร้างผู้นำทางวิชาการ
ศึกษานิเทศก์มืออาชีพสร้างวัฒนธรรมในการพัฒนางานวิชาการ ด้วยการพูดนำ ปฏิบัตินำ และจัดระบบงานให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการพัฒนาวิชาการ โดยการให้รางวัลแก่ผู้รับการนิเทศที่ปฏิบัติงานสำเร็จแล้ว จนนำไปสู่การพัฒนาตนเอง คิดได้เอง ตัดสินใจได้เอง พัฒนางานได้เองของผู้รับการนิเทศ  ศึกษานิเทศก์จึงต้องแสดงออกอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอเกี่ยวกับวัฒนธรรมในการพัฒนางานวิชาการด้วยความกระตือรือร้น  เพียรพยายามที่จะบริการอย่างเต็มที่  ตามขีดสูงสุดของความสามารถ เพื่อให้ผู้รับการนิเทศ เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติ สามารถเลือกการกระทำที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม  แสดงออกและชื่นชมได้ด้วยตนเอง  ศึกษานิเทศก์มืออาชีพจึงต้องสร้างศรัทธาความไว้วางใจและความรู้สึกประสบผลสำเร็จให้แก่ผู้รับการนิเทศแต่ละคนและทุกคนจนเกิดภาพความเป็นผู้นำทางวิชาการ  นำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
๑๒. สร้างโอกาสในการพัฒนางานได้ทุกสถานการณ์
การพัฒนาวิชาชีพการนิเทศการศึกษาให้พัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับความก้าวหน้าของโลกอย่างไม่หยุดยั้ง ศึกษานิเทศก์จำเป็นต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและสามารถจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องสมดุลและเสริมสร้างซึ่งกันและกันศึกษานิเทศก์มืออาชีพจึงต้องตื่นตัวอยู่เสมอ มองเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต กล้าที่จะตัดสินใจดำเนินการเพื่อผลต่อวิชาชีพ การนิเทศการศึกษาในอนาคต อย่างไรก็ตามการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นการประกันได้ว่าการพัฒนาวิชาชีพ การนิเทศการศึกษาจะปรับเปลี่ยนได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ส่งผลให้วิชาชีพการนิเทศการศึกษาพัฒนาได้อย่างยั่งยืนผันแปรตามความก้าวหน้าตลอดไป
 
ค. มาตรฐานการปฏิบัติตนของศึกษานิเทศก์ (จรรยาบรรณวิชาชีพศึกษานิเทศก์)
จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

๒. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก  ศรัทธา  ซื่อสัตย์สุจริต  รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๓. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ  ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
๔. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ  และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ  ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
๕. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย  าจา และจิตใจ
๖. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย  สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
๗. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค  โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
๘. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
๙. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพศึกษานิเทศก์จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑. ศึกษานิเทศก์ ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ  และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี
(๒)  ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนด
(๓)  ศึกษาหาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่างสม่ำเสมอ
(๔)  สร้างผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ

(๕)  ค้นหาวิธีการทำงาน การพัฒนาวิชาชีพและสามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดผลต่อผู้รับการนิเทศ
(๖)  นิเทศโดยยึดผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
(๗)  พัฒนาวิสัยทัศน์โดยผสมผสานนวัตกรรม เทคโนโลยี และแนวคิด เพื่อใช้ในการพัฒนาวิชาชีพ
(๑)  เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพเป็นที่น่ารังเกียจในสังคม
(๒)  ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ
(๓)  ปฏิบัติตนหรือปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
(๔)  ไม่รับรู้  ไม่แสวงหาความรู้  นวัตกรรม  เทคโนโลยีและแนวคิดเพื่อการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๒. ศึกษานิเทศก์ ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ
(๒)  รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
(๓)  ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพ ให้สาธารณชนรับรู้
(๔)  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตตามกฎ  ระเบียบ  และแบบแผนของทางราชการ

(๕)  เลือกใช้หลักการ  วิธีการที่ถูกต้อง ได้ผลดี ทันสมัย  และสอดรับกับผู้รับการนิเทศ
(๖)  อุทิศตนเพื่อประโยชน์ของผู้รับการนิเทศและความก้าวหน้าของวิชาชีพ
(๗)  สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษา เพื่อพัฒนาวิชาชีพ  เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
(๘)  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในองค์การหรือวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ใช้ศาสตร์องค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน
(๙)  เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์
(๑)  วิพากษ์หรือวิจารณ์องค์การหรือวิชาชีพจนทำให้เกิดความเสียหาย
(๒)  ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพศาสตร์ในวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพ
(๓)  ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๔)  ไม่ซื่อสัตย์สุจริต  ไม่รับผิดชอบหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ  ระเบียบ หรือแบบแผนของทางราชการ จนก่อนให้เกิดความเสียหาย

(๕)  คัดลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๖)  ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิขาชีพหรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๓. ศึกษานิเทศก์  ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
๔. ศึกษานิเทศก์  ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
๕. ศึกษานิเทศก์  ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
๖. ศึกษานิเทศก์  ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
๗. ศึกษานิเทศก์  ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  สนับสนุน ส่งเสริมผู้รับการนิเทศให้ประสบความสำเร็จตามความถนัด ความสนใจและศักยภาพของแต่ละคน
(๒)  ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส
(๓)  มีข้อมูล แนวทางปฏิบัติที่หลากหลายให้ผู้รับการนิเทศนำไปใช้เป็นตัวอย่าง
(๔)  รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้รับการนิเทศ
(๕)  ปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น  ตั้งใจเพื่อให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

(๖)  ให้ผู้รับการนิเทศได้ร่วมวางแผนพัฒนาตนเองและเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง
(๗)  เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้รับการนิเทศด้วยการรับฟังความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจอย่างกัลยาณมิตร
(๑)  ปฏิบัติงานมุ่งประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเลือกปฏิบัติ
(๒)  เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้รับบริการในงานตามบทบาทหน้าที่

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
๘. ศึกษานิเทศก์ พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรมดังตัวอย่างต่อไปนี้

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๒)  ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๓)  เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
(๔)  ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๕)  มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการพัฒนาการศึกษา
 
(๑)  นำเสนอแง่มุมทางลบต่อวิชาชีพ ข้อเสนอไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
(๒)  สร้างกลุ่มอิทธิพลภายในองค์การหรือกลั่นแกล้ง ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพให้เกิดความเสียหาย
(๓)  แนะนำในทางไม่ถูกต้องต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพจนทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๔)  ปิดบังข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงาน จนทำให้เกิดความเสียหายต่องานหรือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๕)  ใช้อำนาจหน้าที่ปกป้องพวกพ้องของตนที่กระทำผิดโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพหรือองค์การ

(๖)  แอบอ้างชื่อหรือผลงานของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพเพื่อประโยชน์ของตน
(๗)  วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือแตกความสามัคคี

จรรยาบรรณต่อสังคม
๙. ศึกษานิเทศก์ พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตาม แบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
(๒)  ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการ หรือวิชาชีพแก่ชุมชน
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(๔)  เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม
(๑)  ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่จัดเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
(๒)  ไม่ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม
(๓)  ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม
(๔) ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือสังคม

ที่มา : http://www.ksp.or.th/ksp2013//content/view.php?mid=136&tid=3&did=258

Exit mobile version