มาตรฐานวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน คือ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน (จรรยาบรรณของวิชาชีพ)
โดยจรรยาบรรณของวิชาชีพได้มีการกำหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อประมวลพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างของการประพฤติปฏิบัติประกอบด้วย พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ก. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
มาตรฐานความรู้ | มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ |
๑. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองโดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้ ๑.๑ การนิเทศการศึกษา ๑.๒ นโยบายและการวางแผนการศึกษา ๑.๓ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน ๑.๔ การประกันคุณภาพการศึกษา ๑.๕ การบริหารจัดการการศึกษา ๑.๖ การวิจัยทางการศึกษา ๑.๗ กลวิธีการถ่ายทอดความรู้ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานทางวิชาการ ๑.๘ การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ๑.๙ คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา๒. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการนิเทศการศึกษา ที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง |
๑. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๕ ปี หรือมีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษารวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี ๒. มีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและมีการเผยแพร่ |
มาตรฐานความรู้ | สาระความรู้ | สมรรถนะ |
๑. การนิเทศการศึกษา | ๑. หลักการและรูปแบบการนิเทศ ๒. วิธีการและกระบวนการนิเทศ ๓. กลยุทธ์การนิเทศการศึกษา ๓.๑ การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศการศึกษา ๓.๒ การสร้างทักษะในการนิเทศ ๓.๓ การใช้กลยุทธ์ในการนิเทศ ๓.๔ การนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการนิเทศ ๓.๕ การควบคุมและการประเมินเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา๔. การนิเทศภายใน |
๑. สามารถวิเคราะห์ วิจัย ส่งเสริมให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา ๒. สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ การสอน และการบริหารจัดการการศึกษา ๓. สามารถประสาน สนับสนุน และเผยแพร่ผลงานด้านการนิเทศการศึกษาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔. สามารถใช้เทคนิคการนิเทศได้อย่างหลากหลายด้วยความเป็นกัลยาณมิตร |
๒. นโยบายและการวางแผนการศึกษา | ๑. ระบบและทฤษฎีการวางแผน ๒. บริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ๓. แผนการศึกษาระดับชาติและระดับต่างๆ ๔. การวิเคราะห์และกำหนดนโยบายการศึกษา ๕. การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๖. การพัฒนาและประเมินนโยบายการศึกษา |
๑. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลเพื่อจัดทำนโยบาย แผน และการติดตามประเมินผลด้านการศึกษา ๒. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและการวางแผนดำเนินงาน และการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา ๓. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งให้เกิดผลดี คุ้มค่าต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน |
๓. การพัฒนาหลักสูตรและการสอน | ๑. ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร ๒. การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ๓. หลักการพัฒนาหลักสูตร ๔. การจัดการเรียนรู้ ๕. จิตวิทยาการศึกษา ๖. การวัดและการประเมินผล ๗. การจัดการศึกษาพิเศษ |
๑. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ๒. สามารถสาธิต แนะนำครูให้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพของผู้เรียน ๓. สามารถประเมินหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ |
๔. การประกันคุณภาพการศึกษา | ๑. การบริหารคุณภาพ๒. การประกันคุณภาพการศึกษา๓. มาตรฐานคุณภาพการศึกษา๔. กระบวนการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา | ๑. สามารถศึกษา วิเคราะห์ วิจัยการจัดทำมาตรฐาน และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ๒. สามารถนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ๓. สามารถให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และการวางระบบการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและพร้อมรับการประเมินภายนอก |
๕. การบริหารจัดการการศึกษา | ๑. หลักและระบบขอบข่ายการจัดการศึกษา ๒. หลักการบริหารจัดการการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ๓. การปฏิรูปการศึกษา ๕. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา |
๑. สามารถให้คำปรึกษา แนะนำการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของการศึกษา ๒. สามารถนิเทศการบริหารจัดการสถานศึกษาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ๓. สามารถบริหารจัดการการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน |
๖. การวิจัยทางการศึกษา | ๑. ระเบียบวิธีวิจัย๒. กระบวนการวิจัย๓. การนำผลการวิจัยไปใช้ | ๑. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน ๒. สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ๓. สามารถดำเนินการวิจัยเพื่อสร้าง องค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านการเรียนรู้และการจัดการศึกษา |
๗. กลวิธีการถ่ายทอดความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานทางวิชาการ | ๑. กลวิธีการนำเสนอความรู้ แนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ ๒. การเขียนรายงาน บทความ ผลงาน ผลการศึกษาค้นคว้า และอื่น ๆ ๓. การวิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานวิชาการอย่างสร้างสรรค์ |
๑. สามารถเขียนเอกสารทางวิชาการประเภทต่าง ๆ ๒. สามารถแนะนำและให้คำปรึกษา การเขียนเอกสารทางวิชาการแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ๓. สามารถนำเสนอความรู้ แนวคิด ทฤษฎีด้วยวิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมต่อการเรียนรู้ |
๘. การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ | ๑. หลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๒. อินเทอร์เน็ต ๓. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ๔. ระบบมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ ๕. สำนักงานอัตโนมัติ |
๑. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาตนและการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสม๒. สามารถให้คำปรึกษา แนะนำการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาแก่สถานศึกษา |
๙. คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา | ๑. คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ๒. จรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา ๓. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี |
๑. ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา ๒. มีหลักธรรมในการนิเทศและประพฤติตนเป็นแบบอย่างทีดี |
ข. มาตรฐานการปฏิบัติงานศึกษานิเทศก์
๑. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๒. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๓. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
๔. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
๕. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย าจา และจิตใจ
๖. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
๗. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
๘. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
๙. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๑. ศึกษานิเทศก์ ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ | พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี (๒) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนด (๓) ศึกษาหาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่างสม่ำเสมอ (๔) สร้างผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ (๕) ค้นหาวิธีการทำงาน การพัฒนาวิชาชีพและสามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดผลต่อผู้รับการนิเทศ (๖) นิเทศโดยยึดผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ (๗) พัฒนาวิสัยทัศน์โดยผสมผสานนวัตกรรม เทคโนโลยี และแนวคิด เพื่อใช้ในการพัฒนาวิชาชีพ |
(๑) เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพเป็นที่น่ารังเกียจในสังคม (๒) ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ (๓) ปฏิบัติตนหรือปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (๔) ไม่รับรู้ ไม่แสวงหาความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแนวคิดเพื่อการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ |
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๒. ศึกษานิเทศก์ ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ | พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ (๒) รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ (๓) ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพ ให้สาธารณชนรับรู้ (๔) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ (๕) เลือกใช้หลักการ วิธีการที่ถูกต้อง ได้ผลดี ทันสมัย และสอดรับกับผู้รับการนิเทศ (๖) อุทิศตนเพื่อประโยชน์ของผู้รับการนิเทศและความก้าวหน้าของวิชาชีพ (๗) สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษา เพื่อพัฒนาวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ (๘) แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในองค์การหรือวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ใช้ศาสตร์องค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน (๙) เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์ |
(๑) วิพากษ์หรือวิจารณ์องค์การหรือวิชาชีพจนทำให้เกิดความเสียหาย (๒) ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพศาสตร์ในวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพ (๓) ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (๔) ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผิดชอบหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือแบบแผนของทางราชการ จนก่อนให้เกิดความเสียหาย (๕) คัดลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน (๖) ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิขาชีพหรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ |
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๓. ศึกษานิเทศก์ ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
๔. ศึกษานิเทศก์ ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
๕. ศึกษานิเทศก์ ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
๖. ศึกษานิเทศก์ ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
๗. ศึกษานิเทศก์ ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ | พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) สนับสนุน ส่งเสริมผู้รับการนิเทศให้ประสบความสำเร็จตามความถนัด ความสนใจและศักยภาพของแต่ละคน (๒) ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส (๓) มีข้อมูล แนวทางปฏิบัติที่หลากหลายให้ผู้รับการนิเทศนำไปใช้เป็นตัวอย่าง (๔) รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้รับการนิเทศ (๕) ปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจเพื่อให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (๖) ให้ผู้รับการนิเทศได้ร่วมวางแผนพัฒนาตนเองและเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง (๗) เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้รับการนิเทศด้วยการรับฟังความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจอย่างกัลยาณมิตร |
(๑) ปฏิบัติงานมุ่งประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเลือกปฏิบัติ (๒) เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้รับบริการในงานตามบทบาทหน้าที่ |
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
๘. ศึกษานิเทศก์ พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรมดังตัวอย่างต่อไปนี้
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ | พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๒) ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๓) เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา (๔) ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๕) มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการพัฒนาการศึกษา |
(๑) นำเสนอแง่มุมทางลบต่อวิชาชีพ ข้อเสนอไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา (๒) สร้างกลุ่มอิทธิพลภายในองค์การหรือกลั่นแกล้ง ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพให้เกิดความเสียหาย (๓) แนะนำในทางไม่ถูกต้องต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพจนทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๔) ปิดบังข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงาน จนทำให้เกิดความเสียหายต่องานหรือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๕) ใช้อำนาจหน้าที่ปกป้องพวกพ้องของตนที่กระทำผิดโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพหรือองค์การ (๖) แอบอ้างชื่อหรือผลงานของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพเพื่อประโยชน์ของตน (๗) วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือแตกความสามัคคี |
จรรยาบรรณต่อสังคม
๙. ศึกษานิเทศก์ พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตาม แบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ | พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (๒) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการ หรือวิชาชีพแก่ชุมชน (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (๔) เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม |
(๑) ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่จัดเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งทางตรงหรือทางอ้อม (๒) ไม่ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม (๓) ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม (๔) ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือสังคม |
ที่มา : http://www.ksp.or.th/ksp2013//content/view.php?mid=136&tid=3&did=258