KruSmart : ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ : ร่วมกันก้าวหน้า ทำการศึกษาคุณภาพ

การเรียนรู้แบบสะเต็ม ความรู้จากการอบรม STEM EDUCATION กับผู้แต่งหนังสือ STEM Lesson Essentials

อภิสิทธิ์ ธงชัย (Apisit Tongchai) หนึ่งในผู้เข้ารับการอบรมสะเต็มศึกษา 4 วันเต็มกับ Jo Anne Vasquez & Michael Comer ผู้แต่งหนังสือ STEM Lesson Essentials ได้สรุปจุดเน้นที่สำคัญของการอบรมสะเต็มศึกษา ไว้ใน [https://www.facebook.com/apisit.tongchai] และ Krusmart.Com ขอนำมาถ่ายทอดต่อ ดังนี้
stem-book                 – การเรียนรู้แบบสะเต็มจะเน้นที่การประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะที่เรียนจากทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีมาบูรณาการกันเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ชิ้นงานหรือวิธีการที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง
                – คำว่าวิศวกรรมในสะเต็ม จะหมายถึง การแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ชิ้นงานหรือวิธีการ ซึ่งมีจุดสำคัญคือ การ Optimization หรือการหาวิธีการแก้ที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาหนึ่งๆ
                – การเรียนรู้แบบสะเต็มแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 
                1) Multidisciplinary ซึ่งเป็นการเรียนรู้องค์ความรู้และทักษะของแต่ละสาขาวิชาแยกจากกันโดยใช้ theme ร่วมกันเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของความรู้
                2) Interdisciplinary เป็นการเรียนรู้องค์ความรู้และทักษะของสองวิชาหรือมากกว่าร่วมกันโดยมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน
                3) Transdisciplinary เป็นการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนแก้ปัญหาหรือทำโครงงานซึ่งต้องประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะจากศาสตร์ทั้งวิทย์ คณิต เทคโนโลยี และวิศวกรรม เข้าด้วยกัน
                – สะเต็มศึกษาไม่ใช่การปรับหลักสูตรของประเทศทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียวที่เรียกว่าสะเต็ม แต่เป็นเพียงแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มุ้งเน้นการบูรณาการ (It’s just a learning approach)
                – นักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานมาก่อนจึงจะสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา สร้างสรรค์ชิ้นงานหรือวิธีการต่างๆ ได้
                – สะเต็มไม่ใช่สิ่งใหม่เลยซะทีเดียว การทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีก็ถือว่าเป็นสะเต็มได้ เพราะมีการบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการสร้างสรรค์ชิ้นงานหรือวิธีการเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งกระบวนการของการแก้ปัญหานี้เองคือส่วนที่เรียกว่า “วิศวกรรม” หรือแม้กระทั่งการจัดกิจกรรม Hands-on ที่มีการสร้างสถานการณ์ปัญหาให้นักเรียนได้ทดสอบและปรับปรุงแก้ไขก็ถือว่าเป็นสะเต็มได้
                – การสอนแบบสะเต็มจะช่วยเสริมทักษะสำคัญ เช่น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม หรืออาจจะเรียกได้ว่านักเรียนได้ฝึกทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ก็ว่าได้ และที่สำคัญคือ นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและหันมาสนใจเรียนด้านวิทย์ คณิต เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งแต่นอนว่าจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติในอนาคตถ้าเรามีกำคนด้านสะเต็ม (STEM workforce) มากขึ้น
                – ไม่จำเป็นต้องสอนแบบสะเต็มทุกครั้งไป ถ้าเป็นไปได้ควรจัดกิจกรรมแบบสะเต็มเดือนละครั้งหรือภาคเรียนละครั้งก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว แต่แน่นอนว่ายิ่งบ่อยครั้งก็ยิ่งดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดด้านเนื้อหา เวลาของครูผู้สอนเอง
                – ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือเทคโนโลยี สามารถนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มไปใช้ในชั้นเรียนของตนเองได้ตามแต่ละเนื้่อหาและความเหมาะสม อย่างไรก็ตามจะเป็นการดีมากหากครูผู้สอนทั้งสามวิชาช่วยกันออกแบบกิจกรรมและจัดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน
                – ถึงตอนนี้หลายคนอาจสงสัยว่า แล้ว 5Es learning cycle หรือแม้กระทั่ง Inquiry ที่เคยรู้มาจะต้องเปลี่ยนมาเป็นสะเต็มหรือไม่ คำตอบคือยังคงใช้ได้เหมือนเดิมเพราะสะเต็มเป็นเพียงการบูรณาการและการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหา ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นจะต้องได้มาจากการสืบเสาะ (inquiry) และ 5Es นั้นเป็นกระบวนการของการจัดการเรียนรู้ซึ่งยังคงใช้ได้เหมือนเดิม

สุดท้าย Apisit Tongchai ฝากข้อคิดให้ครูทุกคนว่า “we are responsible for preparing our students to address problems we cannot foresee with knowledge that has not yet been developed using technology not yet invented.” Albert Einstein

ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ Apisit Tongchai ที่ได้จากการอบรม ไม่ได้เกี่ยวกับองค์กรใด หากคุณครูท่านใดมีประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอภิสิทธิ์ ธงชัย ติดต่อที่ [https://www.facebook.com/apisit.tongchai]

ที่มา : https://www.facebook.com/apisit.tongchai

Exit mobile version