1. ที่มาและความสำคัญ
โรงเรียนวัดดอนหวาย(นครรัฐประสาท) จ.นครปฐม ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รวมกลุ่มนักเรียนที่มีความสนใจร่วมกันจัดตั้งเป็นชุมนุมวิทยาศาสตร์ และชุมนุมนักสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์ เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้และเพิ่มทักษะทางวิทยาศาสตร์ และจัดกิจกรรมที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ร่วมกัน ประกอบกับโรงเรียนวัดดอนหวายของพวกเรา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ดังนั้น สมาชิกชุมนุมวิทยาศาสตร์ และชุมนุมนักสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์ได้ร่วมกันสำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ ตลอดจนศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ก่อเกิดกับแม่น้ำท่าจีน และได้มีการกำหนดวิธีการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อหาแนวทางในการพัฒนากลุ่มนักเรียนและเครือข่ายที่สนใจให้มีศักยภาพสูงขึ้น ใช้เวลาในการพัฒนา 3 ปี (ปีการศึกษา 2551-2553)
2. รูปแบบกิจกรรม
คณะผู้ดำเนินการได้แก่ สมาชิกชุมนุมวิทยาศาสตร์ ชุมนุมนักสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์ และคณะครูที่ปรึกษาได้ร่วมกันออกแบบการเรียนรู้กิจกรรมการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสายน้ำ รวมทั้งสิ้น 16 กิจกรรม ดังนี้
1) กิจกรรมเส้นเวลา ประวัติและความสำคัญของแม่น้ำท่าจีน
2) กิจกรรมเส้นทางคุณขยะ ศิลปะจากเศษกระดาษ
3) กิจกรรมตะกอนซ่อนหา และ ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ
4) กิจกรรมการสำรวจสัตว์น้ำในระบบนิเวศแม่น้ำท่าจีน
5) กิจกรรมการสำรวจพืชน้ำในระบบนิเวศ แม่น้ำท่าจีน
6) กิจกรรม น้ำมือใคร น้ำสะอาดได้อย่างไร
7) กิจกรรม ร้อนๆ เย็นๆ การสำรวจอุณหภูมิน้ำในแหล่งน้ำ
8) กิจกรรม สารพัดพิษ (ฟอสเฟต)
9) กิจกรรม ธรรมชาติสอน การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
10) กิจกรรม pH สภาพทางเคมีของแหล่งน้ำ
11) กิจกรรมเพิ่มลมหายใจให้ กุ้งปลา D.O.
12) กิจกรรม หวนคืนท่าจีน เช่น เขียนเรียงความ คำขวัญ
13) กิจกรรมโครงการ “เรือสื่อรักท่าจีน”
14) กิจกรรม พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพชุมชน การท่องเที่ยว วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และการเรียนรู้จากโครงงาน
15) กิจกรรม ศูนย์ท่าจีนศึกษา
16) กิจกรรมลำน้ำ โดยเป็นการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำด้วยวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
3. ผลของการพัฒนา
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากแหล่งการเรียนรู้แม่น้ำท่าจีนของนักเรียน โดยใช้ค่าเฉลี่ย () มีการพัฒนาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2) ผลการประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสายน้ำ จากแหล่งการเรียนรู้แม่น้ำท่าจีน ของผู้ร่วมกิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับน่าพึงพอใจ
3) การพัฒนางานเชิงคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสายน้ำ ส่งผลให้ผู้ร่วมกิจกรรม ผ่านการเรียนรู้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้
3.1) ผู้ร่วมกิจกรรม สามารถเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจได้อย่างหลากหลายโดยผ่านการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้แม่น้ำท่าจีน
3.2) ผู้ร่วมกิจกรรม มีความสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองโดยใช้แหล่งการเรียนรู้แม่น้ำท่าจีน
3.3) ผู้ร่วมกิจกรรม มีผลงานดีเด่นที่เกิดจากการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสายน้ำ อย่างต่อเนื่อง
3.4) ผู้ร่วมกิจกรรม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นผู้นำด้านวิชาการท้องถิ่น สามารถนำเสนอปัญหาที่เกิดจากแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นและวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชนและเครือข่ายได้อย่างต่อเนื่อง
3.5) ผู้ร่วมกิจกรรม มีความสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำสู่การแก้ปัญหาของท้องถิ่นโดยผ่านกระบวนการกลุ่มสนใจ เช่น ชุมนุมวิทยาศาสตร์ ชุมนุมนักสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์ และกลุ่มวิทยากรนักสืบสายน้ำแม่น้ำท่าจีน
3.6) ผู้ร่วมกิจกรรม มีความสามารถในการนำเสนอองค์ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่นช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และนำเสนอผลงาน เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนในสื่อสารมวลชน องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
3.7) ผู้ร่วมกิจกรรม มีความรับผิดชอบ มีจิตวิทยาศาสตร์ โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมและมีการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า
3.8) ผู้ร่วมกิจกรรม มีความสามารถในการจัดการความรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการปฏิบัติจริง เช่น กิจกรรมเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแม่น้ำท่าจีน กิจกรรม คลองสวย น้ำใส กิจกรรมสานเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
3.9) ผู้ร่วมกิจกรรม สามารถประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ (Innovation) พอใจในผลงาน และเป็นผู้สร้างสรรค์ (Creative) มีผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ และผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา ผลงานดีเด่นจากหน่วยงานต่างๆอย่างต่อเนื่อง
4. คุณค่าที่ได้รับจากโครงการ
1) คุณค่าต่อนักเรียน
1.1) การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสายน้ำ กระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ลงมือปฏิบัติเพื่อสืบเสาะหาความรู้ในสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นทั้งดิน น้ำ อากาศ และสิ่งมีชีวิตที่ตนเองสนใจ โดยเน้นการสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถามวิจัย การสืบค้นข้อมูล การตรวจวัด การวิเคราะห์ การอภิปราย และสรุปผล เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลักของโลก (ดิน น้ำ อากาศ และสิ่งมีชีวิต) และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะนำไปสู่การวิจัยแบบนักวิทยาศาสตร์
1.2) การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสายน้ำ ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้พัฒนาองค์ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์และการคิดเป็นระบบอย่างเป็นองค์รวม การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานร่วมกันเป็นทีม การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ เจตคติ คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม
2) คุณค่าต่อครู/โรงเรียน
ครูผู้สอนและโรงเรียนเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกๆ ด้านของผู้ร่วมกิจกรรม โดยสามารถนำกิจกรรมการเรียนรู้จากกระบวนการการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสายน้ำไปประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมการเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติในโรงเรียนและในท้องถิ่นได้หลายรูปแบบ เช่น จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม (รายปี) กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ หรือนำเนื้อหาบางส่วนบูรณาการเข้าไปกับวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น ป. 4-6 และ ม. 1-3
3) คุณค่าต่อชุมชน/องค์กรอื่นๆ
การเรียนรู้จากกระบวนการ การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนสายน้ำส่งเสริมให้ชุมชนและทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจปัญหา และแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น รวมถึงรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคนหนึ่งขององค์ประกอบสำคัญของโลก ที่จะต้องร่วมมือป้องกัน อนุรักษ์ ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนและของโลกให้คงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Tel.034-393-659 , Fax.034-288-068 ผู้ประสานงานโครงการ ครูบุญมี อบเชย Tel. 089-789-1824 E-mail [sciencedonwai@gmail.com]
ที่มา : วารสาร สควค. ฉบับที่ 15 หน้าที่ 10-11 เขียนโดย ครูจารุวรรณ เตชะสุทธิรัฐ สควค. รุ่น 5 ครู ร.ร.วัดดอนหวาย(นครรัฐประสาท) จ.นครปฐม