ผู้อำนวยการโรงเรียน ตัวการใหญ่ของความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสถานศึกษา ผอ. คือ ปัจจัยความสำเร็จของโรงเรียน

ข้อเขียนนี้เป็นของท่าน “สุทัศน์ เอกา (Sutat Eaka)” เว็บไซต์ KruSmart.Com นำมาเผยแพร่ เนื่องจากเชื่อว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน คือ ปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จและความก้าวหน้าของโรงเรียน

“The School Director Role บทบาทของผู้อำนวยการโรงเรียน “ตัวการ Principal” ที่ทำให้เกิด “ความสำเร็จ หรือ ล้มเหลว”ของสถานศึกษา “Leadership is an essential component of a school’s successes or failure”

ในตำรา “การบริหารการศึกษา Education Administration” จากต่างประเทศหลายเล่ม ที่กล่าวว่า Leadership is an essential component of a school’s successes or failure หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเป็น “องค์ประกอบสำคัญ essential component” ที่ทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว..นั้นหมายถึง “คุณภาพของผู้เรียน” จะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ ประการใด ย่อมขึ้นอยู่กับ “พฤติกรรม Behavior”ของผู้อำนวยการเป็นสำคัญ.. นี้เป็นความคิดเห็นของนักวิชาการตะวันตก..แต่ตัวผมเองมีความเชื่อมากกว่านั้นอีกว่า นอกจากรูปแบบการบริหารโรงเรียน School Management System ซึ่งเป็นกระบวนการภายนอก External Process แล้ว..คุณครูทั้งหลายควรจะต้องเชื่ออย่าง “จริงใจ Heartfelt” ด้วยว่า หน้าที่ของคนเป็นครูอย่างพวกเรานี้ มีอยู่ 2.อย่าง คือ
          1. ยกระดับจิตใจของผู้เรียนให้สูงขึ้น ให้สมกับคำว่า ครูคือผู้สร้างวิญญาณมนุษย์ Teacher is “The Creator” of Human Soul..
          2. สอนวิชาความรู้ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้สามารถนำไปดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข…

ผลผลิตของครู คือ “ศักยภาพที่สูงขึ้นของผู้เรียน” ไม่เหมือกับผลผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่เป็น “วัตถุสิ่งของ” แต่ผลผลิตของคุณครูและโรงเรียน เป็นคน “ที่มีจิตวิญญาณ และ แนวความคิด”..ซึงจิตวิญญาณและแนวความคิดนี้ เกิดจากการหล่อหลอมของสังคม อย่างที่เรียกว่า Social Negotiation และสังคมของคุณครูในวันนี้ “ได้สูญเสียเอกลักษณ์ไทย Thai Identity” คือ “ความเป็นพี่น้อง Affinity ขาดหายไป”.. . “ความกลมเกลียวกัน Love harmony ขาดหายไป” สิ่งเหล่านี้เป็นผลทำให้โรงเรียน “ขาดเอกภาพ Lack of Unity” อันเป็นต้นตอของความล้มเหลวทั้งมวลของการบริการจัดการในโรงเรียน..และกล้ารับรองได้เลยว่า “การใช้พระเดช คือ อำนาจการบริหาร หรือ Executive powers” กับคุณครูเพียงอย่างเดียวนั้น คือ “ความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง หรือ Failure entirely”…

ในการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาของศตวรรษที่ 21 จึงต้อง “เปลี่ยนแนวคิดของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นเรื่องแรก Change the concept of school administrators first.” แล้วเปลี่ยนการสอนของครู Change Teaching Approach และ เปลี่ยนวิธีเรียนของนักเรียน Change the way of Learning นี้เรียกว่า “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ก่อนการเปลี่ยนแปลง หลักปฏิบัติ 12 ประการ สำหรับผู้บริการสถานศึกษา หรือ ผู้อำนวยการโรงเรียน “ควรต้องทำ Should be” หากต้องการความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21. มีดังนี้ 
          1. An effective school leader leads by example : ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็น “ผู้นำทำก่อน”ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง leads by example เช่น ความพยายามทุกทางในการยกระดับการเรียนรู้ มีน้ำใจเอื้ออาทรดูแลทุกข์สุขของบุคลากรและนักเรียนทุกคนด้วยหลักเมตตาธรรม สิ่งเหล่านี้ไม่มีในตำรา แต่มันเป็น “ทักษะชีวิต Life Skill” ของมนุษย์ เห็นความคิดต่างเป็นอุปกรณ์สร้างปัญญา เป็นนักสมานสามัคคี เป็นนักกิจกรรมการเรียนรู้..เป็นบุคคลตัวอย่างแห่งการเรียนรู้..เป็นพี่เป็นน้องตามควรแก่ฐานะและความเหมาะสม ฯ.
          2. An effective school leader has a shared vision : ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแชร์วิสัยทัศน์ shared vision” นี้เป็นหลักการสำคัญ เปรียบว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” และ “เป้าหมายที่เราต้องร่วมรบให้ชนะ We Need to win the battle” คือ อุปสรรคที่ขัดขวางความเจริญงอกงามทางการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน นั่นเอง
          3. An effective school leader is well respected : ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องใช้ประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาของตน”สร้างการ “ยอมรับ Well Respected” ไม่ใช่ “อำนาจการบริหาร”
          4. An effective school leader is a problem solver : ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแก้ปัญหา problem solver”ร่วมกับคณะครู “มิใช่นักสั่งการแก้ไข Not a Fixed Order เพราะรากเง้าของปัญหาจะยังคงอยู่ และสร้างปัญหาอีกต่อไปไม่จบสิ้น”
          5. An effective school leader is selfless ผู้นำสถานศึกษา “ต้องไม่เห็นแก่ตัว Selfless” 
          6. An effective school leader is an exceptional listener : ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นผู้ฟังที่ยอดเยี่ยม exceptional listener”และสามารถแสดง “วิสัยทัศน์ Point of View”ของตนอย่างแจ่มชัด
          7. An effective school leader adapts : ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสามารถ “ปรับตัว” ให้เขากับสถานการณ์ และสิ่งแวดลอม ได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข
          8. An effective school leader understands individual strengths and weaknesses : ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเข้าใจ จุดอ่อน และจุดแข็ง Strengths and Weaknesses”ของทั้งตนเองและผู้อื่น เพื่อ “ใช้คน ให้เหมาะกับงาน Put the Right Man on the Right Job.”
          9. An effective school leader makes those around them better : ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีต้อง “พยายามทำให้คนรอบข้างมีแต่ความสุขความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน”
          10. An effective school leader admits when they make a mistake : ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดี “ต้องยอมรับสภาพความผิดในฐานะหัวหน้างาน” เมื่อผู้ให้บังคับบัญชาทำผิด
          11. An effective school leader holds others accountable : ผู้นำสถานศึกษาที่ดี “ต้องร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้มอบหมายให้ผู้อื่นทำ Holds Others Accountable”
          12. An effective school leader makes difficult decisions : ผู้นำสถานศึกษา “เป็นผู้ตัดสินใจในสถานการณ์ที่ยากลำบาก makes difficult decisions” ภายใต้หลักการ “ ระดมความคิด หรือBrainstorming กับผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสมและจริงใจ

หมายเหตุ : ผู้ที่เกือบจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา นำมาฝากเพื่อนผู้บริหารสถานศึกษา (บุคคลในภาพ คือ ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข สละสิทธิ์การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนกระเทียมวิทยา จังหวัดสุรินทร์ และโรงเรียนทรายทองวิทยา จังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากอยู่ระหว่างการรับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ที่มา : จากเฟซบุคของ สุทัศน์ เอกา (Sutat Eaka)



Leave a Comment