ตามกฎกระทรวง ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 39 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ.2545) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
“ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาดำเนินการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษาในอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี ในเรื่องดังต่อไปนี้”
1.1 การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น
1.2 การวางแผนงานด้านวิชาการ
1.3 การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
1.4 การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
1.5 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
1.6 การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน
1.7 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
1.8 การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
1.9 การนิเทศการศึกษา
1.10 การแนะแนว
1.11 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา
1.12 การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ
1.13 การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
1.14 การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานสถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
1.15 การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา
1.16 การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา
1.17 การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. ด้านการบริหารงบประมาณ มีภาระหน้าที่ 22 อย่าง ได้แก่
2.1 การจัดทำแผนงบประมาณและคำขอตั้งงบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วแต่กรณี
2.2 การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงินตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง
2.3 การอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
2.4 การขอโอนและการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
2.5 การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ
2.6 การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ
2.7 การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้ผลผลิตจากงบประมาณ
2.8 การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
2.9 การปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับกองทุนเพื่อการศึกษา
2.10 การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา
2.11 การวางแผนพัสดุ
2.12 การกำหนดรูปแบบรายการ หรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้เงินงบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วแต่กรณี
2.13 การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุ
2.14 การจัดหาพัสดุ
2.15 การควบคุมดูแล บำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ
2.16 การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
2.17 การเบิกเงินจากคลัง
2.18 การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน
2.19 การนำเงินส่งคลัง
2.20 การจัดทำบัญชีการเงิน
2.21 การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน
2.22 การจัดทำหรือจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน
3. ด้านการบริหารงานบุคคล มีภาระหน้าที่ 20 อย่าง ได้แก่
3.1 การวางแผนอัตรากำลัง
3.2 การจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.3 การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
3.4 การเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.5 การดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
3.6 การลาทุกประเภท
3.7 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
3.8 การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
3.9 การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
3.10 การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
3.11 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
3.12 การออกจากราชการ
3.13 การจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ
3.14 การจัดทำ บัญชีรายชื่อและให้ความเห็นเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
3.15 การส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.16 การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ
3.17 การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
3.18 การส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.19 การริเริ่มส่งเสริมการขอรับใบอนุญาต
3.20 การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
4. ด้านการบริหารทั่วไป มีภาระหน้าที่ 21 อย่าง ได้แก่
4.1 การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
4.2 การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
4.3 การวางแผนการบริหารงานการศึกษา
4.4 งานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน
4.5 การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร
4.6 การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน
4.7 งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
4.8 การดำเนินงานธุรการ
4.9 การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
4.10 การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
4.11 การรับนักเรียน
4.12 การเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการจัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษา
4.13 การประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
4.14 การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4.15 การทัศนศึกษา
4.16 งานกิจการนักเรียน
4.17 การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
4.18 การส่งเสริม สนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
4.19 งานประสานราชการกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (ท) การรายงานผลการปฏิบัติงาน
4.20 การจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน
4.21 แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน
การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ให้คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
1) ความพร้อมและความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ที่จะสามารถรับผิดชอบดำเนินการตามขีดความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ความสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะกระจายอำนาจ
3) ความเป็นเอกภาพด้านมาตรฐานและนโยบายด้านการศึกษา
4) ความเป็นอิสระและความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษา
5) มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่
6) มุ่งให้เกิดผลสำเร็จแก่สถานศึกษา โดยเน้นการกระจายอำนาจให้แก่สถานศึกษาให้มากที่สุดเพื่อให้สถานศึกษานั้นมีความเข้มแข็งและความคล่องตัว
7) เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพให้แก่สถานศึกษา
8) เพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ โดยตรง
ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://www.banmaka.tha.im/web_images/structure53.jpg