ใครเก่งคณิตศาสตร์ ยกมือขึ้น !!! : มาสำรวจอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์กันหน่อย
คำนิยามของเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์
ริดจ์ และเคนซูลี (Ridag and Kenzulli. 1981 : 208-209) กล่าวไว้ว่า
1. มีความสามารถโดดเด่นมากทางคณิตศาสตร์
2. มีความมมานะมุ่งมั่นต่องานทางคณิตศาสตร์มาก
3. มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์เหนือกว่าปกติ
ลักษณะของเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์
1. สนใจแผนที่ ลูกโลก แผนภูมิ ปฏิทิน เวลา ตัวเลข
2. ชอบตั้งคำถามแบบนามธรรม เช่น เรื่องของเวลา อวกาศ มิติของเวลา
3. ชอบเล่นตัวต่อยากๆ หรือของเล่นที่เกี่ยวกับการสร้างรูปทรง
4. ชอบชั่ง ตวง วัด นับ จัดลำดับหมวดหมู่สิ่งของ
5. สามารถเข้าใจความหมายของจำนวน และตัวเลขได้เร็วกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน
6. รู้จักตัวเลขหนึ่งหลักหรือสองหลัก นับจำนวนสิ่งของให้สัมพันธ์กับตัวเลขได้
7. มีความเข้าใจเกี่ยวการใช้เงินและค่าของเงิน
8. สามรถจับความสำคัญของปัญหาได้ดีโยงกับเรื่องอื่นได้
9. สามารถสรุปความคิดในเชิงคณิตศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว
10. สามารถคิดข้ามขั้นตอนในเชิงตรรกวิทยาได้อย่างถูกต้อง
11. สามารถตอบคำถามที่แนบเนียนกระทัดรัด
12. เปลี่ยนแนวคิดได้ในกรณีจำเป็น
13. มักจะจดจำความสัมพันธ์ต่างๆ ของปัญหาและหลักการของคำตอบได้ดี
14. รักและหลงใหลในตัวเลข ชอบหมกหมุ่นกับสิ่งที่เกี่ยวกับตัวเลข
15. มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ทั้งในลักษณะมีรูปแบบตายตัวและไม่ตายตัว
16. ชอบตั้งคำถามที่เป็นเหตุผลต่อกัน เช่น ถ้า..แล้ว, ดังนั้น, เพราะว่า, ถ้าไม่..แล้ว..
17. ชอบจัดหมวดหมู่สิ่งของหรือวาดรูปในลักษณะที่เรียงจากขนาดใหญ่ไปหาเล็กหรือเล็กไปหาใหญ่
18. ชอบวาดรุปแบบทรงเรขาหรือลักษณะสมดุลทุกอย่าง
19. ชอบเรียงของเล่นตามขนาดของสิ่งของ ไม่ใช่จากคุณลักษณะอื่น
20. มีระดับ IQ 120 หรือสูงกว่า
ที่มา : Ridge, H. L., & Renzulli, J. S. (1981). Teaching mathematics to the talented and gifted. In V. J. Glennon (Ed.), The mathematical education of exceptional children and youth (pp.191-266). Reston, VA: The National Council of Teachers of Mathematics
ภาพประกอบจาก : http://www.redorbit.com/media/uploads/2013/12/classroom-617×416.jpg