KruSmart : ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ : ร่วมกันก้าวหน้า ทำการศึกษาคุณภาพ

Learning Object (LO) สื่อดิจิทัลส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ SciMath คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศ ของ สสวท.

learningobjectLearning Object (วัตถุการเรียนรู้ยุคดิจิทัล) คือ สื่อการเรียนรู้ดิจิตอล ที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่อง จะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย และสามารถนำมาใช้ใหม่ (ใช้ซ้ำ) ได้

คุณค่าของ Learning Object จึงอยู่ที่การใช้ซ้ำ (Reusable Learning object) โดยมุมมองของการใช้ซ้ำมี 2 มุมมองคือ คือการเผยแพร่เข้าสู่ระบบ LMS (Learning Management System) และการเผยแพร่อิสระ (ไม่ผ่านระบบ LMS)

สติยา ลังกาพินธุ์ นักวิชาการ สสวท.ได้อธิบายความหมาย Learning Object โดยใช้แผนภาพประกอบดังนี้

Digital : สื่อดิจิทัล สามารถ ค้นหา จัดเก็บ และทำซ้ำได้โดยสะดวก
Learning : ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
Object : สื่อชิ้นเล็กๆ ใช้เวลาเรียนประมาณ 20 นาที ครอบคลุม 1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.1 การเผยแพร่ผ่านระบบ LMS นั้นผู้พัฒนาต้องคำนึงถึงเครื่องมือ 2 ส่วนคือ เครื่องมือที่ใช้พัฒนา Learning Object ต้องเป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน และต้องคำนึงถึง LMS จะต้องได้มาตรฐานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานที่เรียกว่า SCORM (Sharable Content Object Reference Model) โดยมีการตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่าง DOD, รัฐบาล, ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่เรียกว่า ADL (Advanced Distributed Learning, www.adlnet.org)

1.2 การเผยแพร่อิสระ เป็นการเผยแพร่ที่อิสระโดยผู้พัฒนาคำนึงถึงเฉพาะศักยภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาว่ามีความสามารถที่จะสร้างสื่อการเรียนรู้ทาให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้หรือไม่ ส่วนการเผยแพร่อาจจะเป็นออฟไลน์ในรูปแบบของ ซีดีรอม หรือออนไลน์ก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อจากัดตัวอย่าง Learning Object ได้แก่ “SciMath คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศ”  ของ สสวท. 

เว็บไซต์ [http://www.scimath.org]

การใช้ Learning Object ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดสาระความรู้ ความคิด ทักษะ และประสบการณ์จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ หลากหลาย ให้เรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ สื่อดิจิทัลเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สามารถจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัลไฟล์ในคอมพิวเตอร์ได้ จึงสามารถจัดเก็บ ทำซ้ำ และเผยแพร่ได้โดยสะดวก สื่อดิจิทัลรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ได้ คือสื่อในรูปแบบ Learning Object หรือ LO ซึ่งเป็นสื่อดิจิทัลที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ นำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ โดยผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย

Learning Object สามารถใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยพิจารณาถึงบริบทของชั้นเรียน ความพร้อมของอุปกรณ์สารสนเทศ ความเข้าใจและทักษะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในวิชาคณิตศาสตร์สามารถนำ Learning Object มาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น

Learning Object มาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายยกตัวอย่างเช่น Learning Object เรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วน ซึ่งผู้เรียนจะได้เปรียบเทียบเศษส่วนจากสื่อที่เห็นเป็นรูปธรรม ผ่านการทดลองด้วยตนเอง ก่อนที่ครูและนักเรียนจะร่วมกันสรุปว่า การเปรียบเทียบเศษส่วนถ้าตัวส่วนเท่ากันให้พิจารณาที่ตัวเศษ ตัวเศษขอเศษส่วนใดมีค่ามากกว่า เศษส่วนนั้นก็จะมีค่ามากกว่าหรือถ้าเป็นการเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่เท่ากัน จะต้องทำตัวส่วนให้เท่ากัน เมื่อตัวส่วนเท่ากันแล้ว ก็ให้ทำการเปรียบเทียบเช่นเดียวกับการเปรียบเทียบเศษส่วนในกรณีที่ตัวส่วนเท่ากันเป็นต้น นอกจากใช้เสริมหรือทดแทนกิจกรรมปฏิบัติการแล้ว Learning Object บางเรื่องยังสามารถใช้เพื่อขยายความรู้ หรือเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับสถานการณ์หรือปัญหาใหม่ที่เกี่ยวข้องเช่น การใช้ LO การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เมื่อนักเรียนได้ใช้ LO นี้จนสามารถหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมูได้แล้ว ครูสามารถเชื่อมโยงความรู้ของนักเรียนที่ได้จาก LO นี้ไปยังสูตรการหาพื้น ที่รูป สี่เหลี่ยมคางหมูที่ว่า(1/2) × สูง × ผลบวกของด้านคู่ที่ขนานกันได้อย่างไม่ยาก หรือใช้ LO ประเมินผลการเรียนรู้ได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของ Learning Object และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบทเรียนมีความสอดคล้องกันสำหรับ Learning Object บางเรื่องที่ออกแบบให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองครบกระบวนการ ยังสามารถใช้สอนซ่อมเสริมในกรณีที่ผู้เรียนขาดเรียนหรือต้องการศึกษาด้วยตนเอง

บทสรุป : สื่อดิจิทัลอย่าง Learning Object ผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ทั้งนี้การใช้สื่อดิจิทัลจะต้องไม่ลดคุณค่าของประสบการณ์การเรียนรู้เหลือเพียงการรับข้อมูลผ่านหน้าจอ แต่ควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน สื่อสารความเข้าใจ และได้สร้างผลงาน โดยมีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพเป็นส่วนช่วย

เรียบเรียงจาก : http://sutheerr.blogspot.com/2012/12/learning-object.html
ที่มาภาพ : 
1. http://2.bp.blogspot.com/-PSNIeEA_M-E/UM3xMBhOZHI/AAAAAAAAAFs/k6PPARprtRc/s400/fewf.jpg
2. http://4.bp.blogspot.com/-DYtP0MK0B1Q/UM3yU3yeqTI/AAAAAAAAAGU/kF2M2Fv-rbs/s320/r36.jpg
3. http://4.bp.blogspot.com/-FKSPMAMVxI8/UM3yicda2RI/AAAAAAAAAGc/yBnwF51gLNk/s320/4yhy.jpg

Exit mobile version