คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เกิดขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อที่ 6 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ในแต่ละจังหวัด ให้มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กศจ.” ประกอบด้วย
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(2) ศึกษาธิการภาคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นรองประธานกรรมการ
(3) ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและผู้แทนสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นกรรมการ
(4) ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ประธานหอการค้าจังหวัด ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และวัฒนธรรมจังหวัดเป็นกรรมการ
(5) ผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค จํานวนสองคนเป็นกรรมการ
(6) ผู้แทนข้าราชการครูในท้องถิ่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค จํานวนสองคนเป็นกรรมการ
(7) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านบริหารงานบุคคล หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค จํานวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
(8) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
จะเห็นว่าในข้อ (5), (6), (7) รวมจำนวน 7 คน ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งมีแนวทางการได้มา ดังนี้
– ผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่นจังหวัดละ 2 คน ซึ่งจะต้องไม่เป็นข้าราชการและต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่
– ผู้แทนข้าราชการครูในท้องถิ่นจังหวัดละ 2 คน จะไม่ให้มาจากการเลือกตั้งเด็ดขาด แต่จะเปิดให้มีการเสนอชื่อหรือสมัครใจ โดยเปิดกว้างให้กับข้าราชการครูในท้องถิ่นทุกสังกัด
– ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 3 คน ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะ ประธาน กศจ.เป็นผู้เสนอรายชื่อ
อำนาจหน้าที่ กศจ. ให้ กศจ. มีอํานาจหน้าที่ในแต่ละเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในจังหวัด
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
(3) พิจารณาและให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดําเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
(4) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อใช้อํานาจตามข้อ ๒ (๔)
(5) กํากับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
(6) วางแผนการจัดการศึกษาในจังหวัดและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
(7) เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทํางานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ. ได้ตามความจําเป็น
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมอบหมาย
รวมถึงอำนาจที่โอนมาจาก ข้อ 4 และ 5 ได้แก่
ข้อ 4 ….. อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ …..
ข้อ 5 ….. อํานาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา …
ขอบคุณภาพประกอบจาก : เว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม
เรื่องย้ายของครูและผู่บริหาร สังกีด สพป ที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ หรือก่อน ที่จะมี กศจ ยกเลืกรึป่าวค่ะ
แต่ละ กศจ. น่าจะนำข้อมูลที่กลั่นกรองไว้แล้วมาพิจารณาต่อได้เลยครับ เว้นแต่ กศจ. แต่ละแห่งจะให้กลั่นกรองใหม่
ใครตอบได้ไหม.กศจ.เป็นผู้บ้งคับบัญชา.ข้าราชการครู.ในสังกัด.สพป.สพฐ.หรือำม่
ถามว่าเป็น ผู้บังคับบัญชาไหม
ตอบว่า งานด้านบุคคล อยู่ในกำกับของใคร
ผู้นั้นก็ คือ ผู้บังคับบัญชาได้ เพราะสั่งได้
แต่อยู่ในรูปของกรรมการ ถ้าจะโดยตรง
ก็มีประธาน กับ เลขาฯ
ใครตอบได้ไหม.กศจ.เป็นผู้บ้งคับบัญชา.ข้าราชการครู.ในสังกัด.สพป.สพฐ.หรือไม่.ถามผู้รู้จริงๆ
ผู้บังคับบัญชา ตาม ม.53 หรือ ตามคำสั่งของ คสช.ที่ 19/2560 นั้น
แต่ กศจ.เป็นบอร์ดใหญ่ เกี่ยวกับงานด้านบุคคล ต้องผ่านบอร์ดนาเสมอ
เช่นงาน บรรจุ. แต่งตั้ง ย้าย ความดีความชอบ วิทยฐานะ เลื่อนขั้นเงินเดือน เครื่องราชฯ ใช่หมดเลย
เห็นว่าการกระจ่ายอำนาจ ให้ทำเป็นสิ่งที่ดี เมื่อเห็นว่าใช้อำนาจไม่ชอบก็ทักท่วงลงโทษ
มิใช่มารวมอำนาจ เพราะอยู่ที่บุคคล คณะบุคคลที่ไม่ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย
เห็นว่าอยู่ที่พฤติกรรมบุคคล มิใช่เปลี่ยนโครงสร้างแล้วจะดีขึ้นหรือบรรลุเป้าหมาย
มีแผนการพัฒนาการศึกษาของ กศจ.ไหมคะ
ไหนๆ ก็ไหนแล้วเพื่อให้สมบูรณ์ ควรพิ่มคณะกรรมการจาก
1.ผู้แทน อบจ. อบต. เทศบาล เมืองพัทยา กทม.
2.ผู้แทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือนิติกรหมู่บ้าน
3.ผู้แแทนศาสนา
4.ผู้แทนจาก เหล่าทัพ ตร.ทอ.ทบ.ทร อีก4คน
5.ผู้แทนกระทรวงอื่น เช่น เกษตร. คมนาคม สาธารณสุข วิทยาศาตร์ และดิจิตัล
6.ผู้แทนสื่อมวลชน และหน่วยงานอิสระ
…
และมีข้อแม้ด้วยว่า
1.ถ้าขาดประชุมหรือไม่เข้าร่วมประชุมเกิน 2 ครั้ง ควรปลดบุคคลนั้นออกไม่เว้นแม้แต่กรรมการโดยตำแหน่ง อันจะให้ความสำคัญต่อชาติจริงๆ
2.แต่ละองค์กรที่เป็นผู้แทน ต้องมีแผนพัฒนาประกอบเพื่อร่วมกับการศึกษาด้วย ถ้าไม่มี ก็ตัดผู้แทนองค์กรนั้นไป(เพื่อมิให้มานั่งเฉยๆ หรือแสวงหาอำนาจ)
3.การศึกษามิใช่ใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้น การย้ายผบ./ครู หรือบุคลากรอื่น
แต่ละครั้ง ก็ควรนำความเห็นจาก กกถ.ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนประกอบด้วยเสมอ
กรณี ของกรุงเทพฯมหานคร สถานะของผู้ว่าราชการ ไม่เหมือนกับจังหวัดอื่น สอบถามไปทาง กศจ.กทม. แจ้งว่า ผู้ที่เป็นประธาน กศจ.กทม. คือปลัดกระทรวงศธ. จะประชุมหารื่อราชการแต่ละเดือนเหมือนจังหวัดอื่นๆ ต้องรอป.ศธ. สั่ง แถมยกเลิกอำนาจ สพม.สพป. แต่ข้อมูลและสารสนเทศครูยังอยู่ที่เดิม ขอย้าย ขอโอน เลื่อนขั้น ส่งผลงาน แต่งตั้ง ถามไปหน่วยไหนที่กล่าวมา ก็ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน
กรณี สอศ.เรียกบรรจุแต่งตั้ง 17 ก.พ.60 ส่งหนังสือขออนุมัติย้าย มาสพม. สพม.ก็ไม่อนุมัติให้ย้ายด้วยผลการสอบ อ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ ต้องให้ กศจ.กทม.ลงมติ 2-3 เดือนกรรมการในตำแหน่งก็ยังไม่ครบ รอ ป.ศธ.สั่งประชุม พอประชุม กศจ.กทม. สพม. ก็ไม่นำเรื่องขอย้ายตามผลการสอบ เข้าวาระประชุม (ข้ออ้างน่ะเพียบ) ถ้้าวงศ์ตระกูลไม่มีบารมี คงดำเนินการยากมากเลย กว่าจะได้ย้าย
กรณีที่กล่าวมา ขอความอนุเคราะห์ชี้แนะแนวทางดำเนินการย้ายตามผลการสอบที่สามารถปฏิบัติได้ผลสัมฤทธิ์ด้วย ไม่ใช่ คำตอบบอกว่า ให้รอนะ ไม่รู้จะให้รออะไร เพราะผู้เกี่ยวข้องยังกล่าว ไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย
1.ไม่เป็นผู้บังคับบัญชาครูสังกัด สพฐ.แต่มีอำนาจบรรจุแต่งตั้ง โยกย้าย 2. เป็นผู้บังคับบัญชา
จนท.ในสนง.ศธจ.แต่ไม่มีอำนาจบรรจุแต่งตั้ง
ปัจจุบันยังใช้โครงสร้างนี้อยู่หรือไม่ครับ วิสูตร คำอินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดหนองบัวลำภู