นวัตกรรมชิ้นนี้ เป็นการบูรณาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามแนวคิดสร้างสรรค์การเรียนรู้ จากสวนป่าโรงเรียนมัธยมจารพัตรวิทยา ผลงานที่นำเสนอจึงมาจากการจัดการเรียนรู้จริงของครู และผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของนักเรียน โดยพบว่า สวนป่าโรงเรียนมัธยมจารพัตวิทยา สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการ (Process of learning) การเรียนรู้โดยปฏิบัติจริง (Learning by doing) ทั้งการเรียนรู้ของคนในชุมชนที่มีแหล่งเรียนรู้ของตนเองอยู่แล้ว และการเรียนรู้ของคนอื่นๆ ผลลัพธ์ที่สำคัญคือ
-เป็นห้องเรียนทางธรรมชาติ
-เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
การเรียนการสอนที่เน้นวิธีที่หลากหลาย การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ สอนตามสภาพจริงและเชื่อมโยงเนื้อหาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ มีกระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย เชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ สวนป่ามัธยมจารพัตวิทยา
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) นับเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้กระบวนการกลุ่มให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์และเกิดความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม ซึ่งการเรียนแบบร่วมมือมิใช่เป็นเพียง จัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม เช่น ทำรายงาน ทำกิจกรรมประดิษฐ์หรือสร้างชิ้นงาน อภิปราย ตลอดจนปฏิบัติการทดลอง แล้วผู้สอนทำหน้าที่สรุปความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น แต่ผู้สอนจะต้องพยายามใช้ยุทธวิธีให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการประมวลสิ่งที่มาจากการทำกิจกรรมต่างๆ จัดระบบความรู้สรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ครูจะเลือกเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนและผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมที่จะร่วมกันทำกิจกรรม รับผิดชอบงานของกลุ่มร่วมกัน โดยที่กลุ่มจะประสบความสำเร็จได้ เมื่อสมาชิกทุกคนได้เรียนรู้ บรรลุตามจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือ การเรียนเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมติดต่อที่ :
โรงเรียนมัธยมจารพัตรวิทยา
โทรศัพท์ 087-139890
[www.mattayomjarapatwittaya.com]