วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth System Science) หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ (ดิน น้ำ บรรยากาศ สิ่งปกคลุมดิน/สิ่งมีชีวิต) เพื่อให้เข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์ ปรากฏการณ์รวมทั้งแนวโน้มต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อม และมีผลต่อเนื่องมาถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์
กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ
1. สำรวจและสังเกตธรรมชาติ โดยครูกระตุ้นให้นักเรียนสังเกตและบันทึกผลการสังเกต
2. ตั้งคำถามวิจัย ที่ได้จากการสำรวจและสังเกตธรรมชาติ
3. วางแผนการวิจัยและเขียนเค้าโครงการวิจัย
– ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
– ต้องการตรวจวัดปัจจัยใดบ้าง ใช้เครื่องมือใดบ้าง
– ขั้นตอนการดำเนินงาน
– งบประมาณที่จะใช้ (ในระยะเวลา 6 เดือน)
การเขียนเค้าโครงการวิจัย ควรตอบคำถามเหล่านี้ได้
– ใคร-(Who) ผู้วิจัย
– ทำอะไร-(What) วัตถุประสงค์หรือคำถามวิจัย
– ทำทำไม-(Why) หลักการและเหตุผล
– ทำที่ไหน-(Where) สถานที่หรือจุดศึกษา
– ทำเมื่อไหร่– (When) ระยะเวลาดำเนินการ
– ทำอย่างไร –(How) ขั้นตอนและวิธีการศึกษา
4. ดำเนินการเก็บข้อมูล โดยดำเนินการตามแผนการวิจัยที่ได้กำหนดไว้
5. วิเคราะห์ข้อมูล
6. สรุปและอภิปรายผล
7. เขียนรายงาน และนำเสนอการวิจัย
กระบวนการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ จึงเป็นการเรียนเพื่อฝึกนักเรียนให้ทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ ด้วยการทำงานวิจัยง่ายๆ ใกล้ตัวนักเรียน ซึ่งคุณครูวิทยาศาสตร์ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนของตนเองได้
ที่มา : วารสาร สควค. ฉบับที่ 16 หน้าที่ 11 เขียนโดย ครูชำนาญ เพริดพราว ครู สควค. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.สกลนคร
ภาพประกอบจาก : http://3.bp.blogspot.com/-ZcEvgv6WMVI/USClIgPYFQI/AAAAAAAAAAk/t2CUPGpjYCg/s1600/clip_image001.jpg