KruSmart : ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ : ร่วมกันก้าวหน้า ทำการศึกษาคุณภาพ

ประสบการณ์สุดเจ๋ง จากการเข้าร่วมโครงการครูฟิสิกส์ ภาคฤดูร้อนเซิร์น ของครูพิมพร ผาพรม

กิจกรรมครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อน ระหว่างวันที่ 4-23 กรกฎาคม 2553 แบ่งเป็น 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การฟังบรรยายเนื้อหาฟิสิกส์ การเข้าเยี่ยมชมสถานที่ภายในสถาบันเซิร์น การปฏิบัติการทดลอง การนำเสนอข้อมูลและผลการทำกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมอื่น ๆ มากมาย โดยสำหรับการฝึกปฏิบัติการทดลองและทำกิจกรรมกลุ่ม มีดังนี้

     1. Build a Cloud Chamber ฝึกสร้างเครื่อง cloud chamber
     2. Introducing the Teachers Lab ศึกษาการทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง
     3. working Groups แยกกลุ่มย่อยศึกษาตามหัวข้อที่สนใจ ซึ่งมีจำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้
         1) Teachers Lab การทดลองด้านฟิสิกส์อนุภาคเพื่อนาไปใช้ในชั้นเรียน มีที่ปรึกษาและผู้สนับสนุนด้านอุปกรณ์การทดลอง คือ บริษัท Phywe
         2) Teaching Module คือ การจัดทำเนื้อหา และสื่อการสอนด้านฟิสิกส์อนุภาค
         3) Master classes คือ สร้างเนื้อหาและหลักสูตรการสอน
         4) The International Baccalaureate Diploma (IB) การสร้างเนื้อหา แบบฝึก กิจกรรมการเรียนการสอนฟิสิกส์สาหรับนักเรียนในโรงเรียนนานาชาติ
         5) Pre-Visit Pack การจัดทาโปรแกรมสาหรับการศึกษาดูงาน สาหรับผู้ต้องการเยี่ยมชมเซิร์น ในช่วงเวลาสั้น ๆ
         6) How do you know? การค้นหาวิธีการ หรือแหล่งข้อมูลอธิบายความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาค

โดยข้าพเจ้า (คนที่ 2 จากซ้าย; ในภาพคือตัวแทนนักศึกษาและครูฟิสิกส์ไทยที่เข้าร่วมโครงการเซิร์นในปี พ.ศ. 2553) เลือกกลุ่ม IB เพื่อเรียนรู้การจัดหลักสูตร เนื้อหา รวมถึงแบบฝึกหัดสำหรับการจัดการเรียนการสอนฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งได้มีการบรรจุเนื้อหาด้านฟิสิกส์อนุภาคในหลักสูตรแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนและอาจปรับใช้กับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทยต่อไป โดยมีการแบ่งหัวข้อสำหรับการดำเนินการ ดังนี้
          1. ประชุมเพื่อทำความเข้าใจลักษณะและจุดประสงค์ของงาน
          2. เลือกเนื้อหาและแบ่งหัวข้อย่อย
          3. ศึกษาค้นคว้า พัฒนาสื่อ แบบฝึกหัดที่รับผิดชอบ
          4. รวบรวมเนื้อหาและสื่อเพื่อสรุปเป็นเนื้อหา
          5. นำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ
          6. เสนอเนื้อหาลงในเว็บไซต์ของเซิร์น

เนื่องจากประเด็นที่กลุ่ม IB จะดำเนินการนั้นมีอยู่จำนวนมาก จึงไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จได้ภายในช่วงเวลาที่อบรมอยู่ ดังนั้นจึงวางแผนการทำงานให้ถึงเพียงขั้นตอนการกำหนดเนื้อหาและสร้างสื่ออย่างง่าย เพื่อนำเสนอให้เพื่อนครูกลุ่มอื่นๆ เข้าใจและรับรู้เกี่ยวกับภาพรวมของกลุ่ม IB ส่วนขั้นตอนการสร้างการทำเนื้อหา โดยละเอียดต้องรอตรวจจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งต้องดาเนินการภายหลัง การสร้างเนื้อหาและแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมการเรียนการสอน ให้สัมพันธ์กับหลักสูตรวิชาฟิสิกส์ นั้น กลุ่ม IB เน้นที่ฟิสิกส์อนุภาค ที่มีนักเรียนอายุระหว่าง 16-19 ปี มีทั้งหมด 2,183 โรงเรียนจาก 138 ประเทศ เนื่องจากฟิสิกส์อนุภาคเป็นเนื้อหาทางเลือกหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ในระดับ higher level ดังนั้น โปรแกรมครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนจึงได้สร้างเนื้อหาและจัดเอกสารต่างๆ เพื่ออานวยสะดวกและพัฒนาการเรียนการสอน โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องมาประจาทุกปี มีจุดประสงค์หลัก คือ
          1. สร้างแหล่งเรียนรู้ที่มีเนื้อหาถูกต้อง แม่นยำ และเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน ผ่านสื่อที่หลากหลาย เช่น เนื้อหาที่อยู่ในรูปแบบ Power point, แบบฝึกหัด, คู่มือการทดลอง เป็นต้น
          2. กระตุ้นและส่งเสริมให้ครูสอนเนื้อหาฟิสิกส์อนุภาคมากขึ้น
          3. พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนฟิสิกส์อนุภาคให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ โครงสร้างของวิชาฟิสิกส์ และเนื้อหาที่เรียนที่เซิร์นกำหนด ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 22 ชั่วโมง ผู้สนใจสามารถเลือกดาวน์โหลดเอกสารดังกล่าวได้ที่ http://teachers.cern.ch
          นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอระบบการศึกษาของแต่ละประเทศโดยมีคำถามเป็นตัวกำหนดเนื้อหา เช่น โรงเรียนของผู้เข้าร่วมอบรมเป็นของรัฐบาลหรือเอกชน จำนวนนักเรียนในโรงเรียนและนักเรียนต่อห้อง จำนวนวิชาฟิสิกส์ต่อสัปดาห์

          สัดส่วนเนื้อหาวิชาฟิสิกส์กับวิชาอื่นๆ ในหลักสูตรของโรงเรียน สัดส่วนเนื้อหาของฟิสิกส์อนุภาคต่อเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ทั้งหมด อุปกรณ์การทดลองเพียงพอหรือไม่ การสนับสนุนเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลเป็นอย่างไร วุฒิการศึกษาของครูและคุณสมบัติอื่นๆ ในการเป็นครูวิทยาศาสตร์และครูฟิสิกส์ การนำเสนอใช้เวลาประมาณ 10 นาที ไม่เน้นความเป็นทางการมากนัก

         4. กิจกรรมอื่น ๆ เช่น
             – Pool and Pizza เป็นกิจกรรมตอนเย็นหลังเลิกจากการอบรม คือ การว่ายน้า (ไม่บังคับ) และร่วมทานพิซซ่าที่ร้านใกล้ ๆ เซิร์น และชมบรรยากาศสภาพทั่วไปรอบๆ เซิร์น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไร่ทานตะวัน งา ข้าว และข้าวโพด เป็นต้น
             – Discover Geneva Treasure Hunt แบ่งกลุ่ม (แบบสุ่ม) เพื่อท่องเที่ยวเจนีวาในวันหยุด เพื่อเป็นการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเจนีวา และเสริมสร้างความสามัคคีของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมีการแจกเอกสารให้แต่ละกลุ่มเดินตามหาคำตอบ ตามเส้นทางที่กำหนดและจบด้วยการทาน ฟองดู (Fon due) อาหารขึ้นชื่อของสวิตเซอร์แลนด์
             – International Evening การแสดงแลกเปลี่ยนวัฒน ธรรมของชาติต่างๆ โดยครูที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นผู้จัดสถานที่และการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนครูส่วนใหญ่ทำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติตนเองให้เพื่อน ๆ ลองชิม เช่น ช็อกโกแล็ตชาเขียวของญี่ปุ่น ชีสหลากชนิดของฝรั่งเศส ขนมหวานจากมาซิโดเนีย บางชาติก็มีการแสดงหรือกิจกรรมให้ร่วมกันทำ เช่น การหัดเต้นแบบสเปน ตุรกี เคนยา และการแสดงรำไทยของไทยโดยนางสาวสุพัตรา  ทองเนื้อห้า ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของครูทุกคน
             – Jura pic-nic กิจกรรมปิคนิคที่ยอดเขาจูรา ยอดเขาจูรา เป็นยอดเขาหนึ่งของเทือกเขาแอลป์ อยู่บริเวณไม่ไกลจากเซิร์นมากนัก โดยทุกคนต้องเดินจากจุดจอดรถถึงยอดเขาและช่วยกันถือสิ่งของที่เป็นของส่วนรวมไปด้วย เมื่อถึงยอดเขา ครูผู้หญิงจะเตรียมอาหาร จากนั้นร่วมกันทานอาหาร ผลไม้ ที่เตรียมมา บนยอดเขาจูราสามารถมองเห็นทะเลสาบเจนีวาและวิวที่สวยงามด้านฝรั่งเศส อากาศเย็น ลมแรง เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความสามัคคีได้อีกรูปแบบหนึ่ง
            – Farewell BBQ กิจกรรมเลี้ยงส่งด้วยบาบีคิว ในคืนสุดท้ายหลังปิดโครงการ โดย Dr.rolf Landau ผู้อำนวยการโครงการ HST 2010 ลงมือบริการปิ้งบาบีคิวด้วยตนเองและไม่ยอมให้ใครช่วยเหลือ ทุกคนแสดงความขอบคุณทีมงานที่ให้ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อถึงเวลาเลิกงาน ทุกคนกล่าวลาด้วยคำว่า “แล้วพบกันอีก ”

ประโยชน์ที่ได้รับ
       1. ได้รับความรู้เพิ่มเติม ในเนื้อหาด้านฟิสิกส์อนุภาค
       2. ทราบแนวทาง และมีประสบการณ์ ในการทดลองและสร้างสื่อการสอนฟิสิกส์
       3. รู้และเข้าใจ จุดประสงค์ เป้าหมาย และบทบาทของเซิร์นมากยิ่งขึ้น
      4. ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้การเรียนการสอนฟิสิกส์กับครูฟิสิกส์ในประเทศต่างๆ เพื่อนามาปรับปรุงการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตน
      5. มีเครือข่ายครูฟิสิกส์เพื่อแลกเปลี่ยนกิจกรรมการสอนและสื่อการเรียนการสอนในโอกาสต่อไป

แผนการดำเนินงานหลังการเข้าร่วมโครงการ
     1. จัดอบรมความรู้และขยายผลแก่ครู นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนการสอนด้านฟิสิกส์อนุภาค สำหรับครูในภูมิภาคหรือในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน เป็นต้น
     2. สร้างสื่อการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ในชั้นเรียนให้น่าสนใจ ใช้แหล่งข้อมูลที่มีอยู่เผยแพร่ความรู้ด้านฟิสิกส์อนุภาค ผ่านทางเว็บไซต์
     3. ติดต่อ ประสานงานกับเครือข่ายครูในกลุ่ม IB Group จัดทำเนื้อหาในช่วงต่อไป

ข้าพเจ้าและนางสาวสุพัตรา   ทองเนื้อหา ล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า ฯ อันหาที่สุดมิได้ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ทรงพระราชทานโอกาสในการเป็นตัวแทนครูฟิสิกส์ไทยให้เข้าร่วมโครงการครูฟิสิกส์ฤดูร้อนเซิร์น ประจาปี 2553 และขอกราบขอบพระคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คัดเลือกและมอบโอกาสที่สำคัญยิ่ง แก่ข้าพเจ้าและนางสาวสุพัตรา   ทองเนื้อหา ซึ่งเป็นครู สควค. ในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้

ที่มา : วารสาร สควค. ฉบับที่ 15 หน้าที่ 8-9 เขียนโดยครูพิมพร  ผาพรม สควค.รุ่น 7 ครู ร.ร.ท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์

Exit mobile version