KruSmart : ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ : ร่วมกันก้าวหน้า ทำการศึกษาคุณภาพ

การศึกษามโนมติเรื่อง ฟิสิกส์อะตอม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปรียบเทียบ

ชื่อเรื่องภาษาไทย : การศึกษามโนมติเรื่อง ฟิสิกส์อะตอม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปรียบเทียบ
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : A Study of Grade XI Students’ Conception on “Atomic Physics” Through Analogy Approach
ผู้เขียน/ผู้วิจัย : ชำนาญ เพริดพราว Chumnan Prerdprao, ดร.โชคชัย ยืนยง Dr.Chokchai Yuenyong
การตีพิมพ์ : วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับบัณฑิตศึกษา, Vol 12, No 3 (2555)

บทคัดย่อ 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนมติของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ฟิสิกส์อะตอม โดยใช้การสอนแบบเปรียบเทียบ ตามแนวทาง FAR Guide กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5/15 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน 29 คนที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการตีความ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบเปรียบเทียบ ตามแนวทาง FAR Guide แบบสำรวจมโนมติเรื่องฟิสิกส์อะตอม ใบงานกิจกรรม FAR Guide และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และนำมโนมติของของนักเรียนที่ได้มาจัดกลุ่มมโนมติเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องกับมโนมติวิทยาศาสตร์
ผลการวิจัยได้รายงานไว้ 3 ส่วน ได้แก่ 
          (1) มโนมติก่อนเรียนเรื่องฟิสิกส์อะตอม พบว่านักเรียนมีแนวคิดเกี่ยวกับอะตอมสามารถจัดได้เป็น 5 กลุ่มแนวคิด โดยส่วนมากร้อยละ 34.48 นักเรียนมีแนวคิดว่าอะตอมมีรูปร่างกลมประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่โดยทั่วไป 
          (2) การประยุกต์ใช้มโนมติก่อนเรียนเพื่อการจัดการเรียนรู้เรื่องฟิสิกส์อะตอมโดยใช้การเปรียบเทียบ ประกอบด้วย 5 มโนมติได้แก่มโนมติเรื่อง แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด แบบจำลองอะตอมของโบร์ ระดับพลังงานตามแบบจำลองอะตอมของโบร์ และปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ใช้ตัวเปรียบเทียบ คือ ลูกน้อยหน่า การชนกันระหว่างแท่งแม่เหล็ก ระบบสุริยะ ขั้นบันได และการปาลูกเทนนิสใส่ลูกปิงปองที่อยู่ในถังบรรจุน้ำ ตามลำดับ
          (3) การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้เรื่องฟิสิกส์อะตอมโดยใช้การเปรียบเทียบ นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง Analog กับ Target เกี่ยวกับฟิสิกส์อะตอม แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความเข้าใจมโนมติเกี่ยวกับฟิสิกส์อะตอม
ABSTRACT
The purposes of the research were to study grade 11 students’ conceptual understanding of concept after learning activity on atomic physics unit using analogy approach (FAR Guide). The target group was 29 grade 11 students’ in Triamudomsuksa School of the northeast, Sakon Nakhon province during the 2nd semester of the 2011 academic year. Research methodology regards interpretive research. Research instruments include lesson plan about atomic physics using analogy approach (FAR Guide), concept test, worksheet, and interview. Students’ concept were interpreted and categorized into group compare with scientific conceptions.
The research result was as follows:
          (1) Students’ prior concepts about atomic physics were categorized into five categories. Most of student about 34.48 percent understood about atom structure that is a spherical object containing protons, neutrons, and electrons with scattered in general.
          (2) The application of students’ prior concepts to learning management about atomic physics using analogy approach (FAR Guide) include the concept of Thomson’s atomic model, the concept of Rutherford’s atomic model, the concept of Bohr’s atomic model, the concept about electron energy levels in Bohr’s atomic model, and photoelectric effect. The analog were custard apple, the collision of magnet, solar system, stair, and throwing tennis ball into ping pong ball in a bucket of water respectively.
          (3) Reflection of learning about atomic physics using analogy approach (FAR Guide). It found that students analyzed the similarities and differences between analog and target about Atomic Physics. It can be indicated that students understood the concepts about atomic physics.

ดาวน์โหลดรายงานการวิจัยฉบับเต็ม คลิกที่นี่ >> : [PDF การศึกษามโนมติเรื่อง ฟิสิกส์อะตอม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปรียบเทียบ]
ตัวอย่างการเปรียบเทียบระหว่างระบบสุริยะและแบบจำลองอะตอมของโบร์ (ส่วนหนึ่งของผลงานนักเรียนที่ปรากฏในรายงานการวิจัย)

Exit mobile version