[Best Practice] เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย พัฒนาการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนเรียนร่วม

alphabet-game2ชื่อ Best Practice เรื่อง “การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ โดยใช้ “เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย” โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา Best Practice
1.1 ชื่อผู้พัฒนา Best Practice ชื่อ-สกุล นางวชิราภรณ์ มั่นคง
1.2 โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา
1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ เขต 33

2. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา Best Practice
2.1 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้ “เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย”
2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาทักษะ การอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณโดยใช้“เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย”
2.3 เพื่อพัฒนาเด็กพิการเรียนร่วม ให้มีทักษะชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

3. ระยะเวลาในการพัฒนา Best Practice เดือน มิถุนายน 2558 – สิงหาคม 2558
alphabet-game14. ผลสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนา Best Practice
4.1 ผลสำเร็จเชิงปริมาณ
การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียนและการอ่าน และการคิดคำนวณ โดยใช้ “เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย” โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

4.2 ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ
เด็กพิการเรียนร่วม (LD) มีทักษะการอ่านแจกลูกสะกดคำ
เด็กพิการเรียนร่วม (LD) มีทักษะการเขียนคำได้ถูกต้อง
เด็กพิการเรียนร่วม (LD) มีทักษะการแต่งประโยค
เด็กพิการเรียนร่วม (LD) มีทักษะการเขียนเรื่องราวแบบสั้นๆได้
เด็กพิการเรียนร่วมได้รับการพัฒนา สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ครูมีความรู้ความเข้าใจสามารถใช้สื่อ / จัดกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย
ผู้ปกครองยอมรับและเข้าใจ พร้อมให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของโรงเรียน

alphabet-game34.3 ความพึงพอใจต่อ Best Practice
การประเมินความพึงพอใจต่อ Best Practice มีความพึงพอใจในระดับมาก ร้อยละ 80

4.4 ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา Best Practice
ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนานักเรียนที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษ และเชื่อมั่นว่า “นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้” และ โรงเรียนควรจัดสื่อหรือนวัตกรรมที่สนองต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียนแต่ละคน รวมทั้งมุ่งเน้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ คนทุกคน (Education for all) ตามปรัชญาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม

ภาพและเรื่องโดย : ผู้พัฒนานวัตกรรม : นางวชิราภรณ์ มั่นคง



Leave a Comment