[OSOP-2558] รถไฟฟ้าพันธ์ผสม (Hybrid) เพื่อคนชราและทุพพลภาพ นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของผู้บริหารสถานศึกษา

osop-hybridโรงเรียนบ้านกระโดนค้อ (กระโดนค้อผดุงวิทยา) ต.ช่างปี่ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ โดยท่านผู้อำนวยการศุภชัย ภาสกานนท์ (คนขวามือสุด) คณะครูและนักเรียน ได้นำเสนอผลงานตามโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ประจำปี 2558 ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซนทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา

ความเป็นมาของการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุเช่นเดียวกับประเทศอื่นทั่วโลก ทำให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ (population ageing) รวมถึง ผู้พิการที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ทางการเคลื่อนไหวไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำรถไฟฟ้าพันธ์ผสม (Hybrid) เพื่อเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนชราและทุพพลภาพ ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างปกติสุข

กรอบแนวคิดของการสร้างสรรค์นวัตกรรม

เนื่องจากมีผู้พิการทางการเคลื่อนไหวรวมทั้งผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางร่างกาย การทรงตัว มีปัญหาเรื่อง การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อทำให้ไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง รถเข็นจึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ที่จะใช้ในการพาผู้พิการและผู้สูงอายุเคลื่อนที่ไปในที่ต่างๆที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะพื้นผิวใดก็ตาม

กระบวนการพัฒนานวัตกรรม
1. ขั้นตอนการออกแบบ

2. รวบรวมข้อมูล
3. เลือกวิธีการ
4. ออกแบบและปฏิบัติการ
5. ประเมินผล

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น

รถไฟฟ้า (Hybrid) เพื่อคนชราและทุพพลภาพ ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมเหล็ก การต่อวงจรไฟฟ้า การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าและเป็นพลังงานกล การคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการจมการลอยของรถ การทำงานที่เป็นระบบตามกระบวนการเทคโนโลยี

สำหรับคนชราและทุพพลภาพ ช่วยแก้ปัญหาในการเดินทางในระยะทางใกล้ๆ ให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับคนปกติให้มากที่สุด ซึ่งลักษณะการควบคุมบังคับทางการเคลื่อนที่ทำได้ง่าย โดยการใช้สวิตซ์โยกบังคับทิศทาง ด้านพลังงานแบตเตอรี่ใช้งานได้นานถึง 1 ชั่วโมง สามารถควบคุมการขับเคลื่อนไปในที่ต่างๆ ได้จริง

แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง

รถไฟฟ้า (Hybrid) เพื่อคนชราและทุพพลภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ ตามความเหมาะสม

1. ประยุกต์ใช้เป็นรถที่จะใช้ลำเลียงผู้ป่วยในสถานที่เดินทางเข้าไปลำบาก
2. ประยุกต์เป็นรถแคปซูลลอยน้ำได้ ทั้งบนผิวน้ำและบนบกใช้ในเรือเดินสมุทร เรือประมง

3. สามารถประยุกต์ใช้เป็นเรือสะเทินน้ำ สะเทินบกช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม
4. ใช้เป็นพาหนะตรวจการของหน่วยงานป่าไม้ กู้ชีพ แพทย์ในชนบท ถิ่นธุรกันดาร
5. ประยุกต์ใช้เป็นหน่วยหุ่นยนต์สำรวจกับระเบิดตามแนวชายแดน
6. ประยุกต์ใช้เป็นหุ่นยนต์ที่ตรวจรังสีหรือรอยรั่วของแก๊สพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์



Leave a Comment