1. ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า วัฒนธรรม
ก. สิ่งดี ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
ข. ความเจริญในทางวิชาความรู้
ค. ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ
ง. สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ
2. ขนบธรรมเนียม หมายถึง
ก. แบบอย่างที่นิยมกันมา
ข. สิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
ค. ความต้องการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย
ง. สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ
3. สิ่งที่บรรพชนได้ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามถือว่าเป็นความผิดและถูกสังคมลงโทษ เป็นความหมายของข้อใด
ก. ประเพณี
ข. ขนบประเพณี
ค. จารีตประเพณี
ง. ธรรมเนียมประเพณี
4. ข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับสาขาของวัฒนธรรมไทยตามความเห็นของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
ก. วัฒนธรรมทางวัตถุ
ข. วัฒนธรรมทางสุนทรียะ
ค. วัฒนธรรมทางการบริโภค
ง. วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณคดี
5. การกราบครั้งที่สามของการกราบแบบเบญจางค์ประดิษฐ์ หมายถึงกราบใคร
ก. กราบเพื่อระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า
ข. กราบพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ค. กราบพระสงฆ์ตัวแทนพระพุทธเจ้า
ง. กราบพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
6. การรับไหว้ในขณะที่ยืนและเราอยู่ในฐานะที่อาวุโสกว่า ควรเป็นเช่นใด
ก. พนมมือระดับอก
ข. พนมมือเหนือระดับอก นิ้วจรดคาง
ค. พนมมือระดับอก ก้มศีรษะเล็กน้อย
ง. พนมมือระดับอกและพยักหน้าเล็กน้อย
7. หากเราจะผ่านผู้คนมากๆและมีผู้ที่อาวุโสนั่งอยู่กับพื้น เราควรใช้วิธีการใด
ก. เดินก้มหน้า
ข. เดินย่อตัว
ค. หมอบ
ง. คลาน
8. ข้อใดเป็นมารยาททางกายที่ไม่เหมาะสม
ก. ถ้านั่งต่อหน้าผู้ใหญ่กับพื้นให้นั่งพับเพียบ หันหน้าไปหาผู้ใหญ่ในลักษณะเงยหน้า
ข. ไม่ถือวิสาสะใช้หรือรับประทานของที่เขาจัดไว้สำหรับผู้อื่นโดยเฉพาะ
ค. ล้วง แคะ แกะเกา หาว เรอหากจำเป็น
ง. เห็นของผู้ใหญ่ตก หรืออาจจะเสียหายโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ควรจะบอก
9. หลักธรรม “พรหมวิหาร 4” ตรงตามข้อใด
ก. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ข. ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค์
ค. ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ง. สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ
10. สถานการณ์ที่เอื้อต่อการผสมผสานทางวัฒนธรรม คือข้อใด
ก. ศักยภาพของวัฒนธรรมที่สนองต่อการการเกื้อกูลต่อกัน
ข. สมาชิกในสังคมตระหนักถึงการปกป้องค่านิยมและประเพณีเดิม
ค. ความภูมิใจของสมาชิกในสังคมที่มีต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมให้ดำรงอยู่
ง. ปริมาณของวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุมีพอเหมาะกับปริมาณของวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ
11.ข้อใด ไม่ใช่ ค่านิยมดั้งเดิมของไทย
ก. ความกตัญญู
ข. ความเสมอภาค
ค. ความเป็นอิสระ
ง. ความเมตตากรุณา
12. ข้อใดคือ การทักทายตามมารยาทแบบสากล
ก. การยิ้ม
ข. การไหว้
ค. การคำนับ
ง. การจับมือ
13. “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” จัดไว้ในข้อใด
ก. วัฒนธรรมไทย
ข. ประเพณี
ค. ความเชื่อ
ง. ค่านิยม
14. ประเพณีประจำจังหวัดต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวผิด
ก. ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ : เพชรบูรณ์
ข. ประเพณีชักพระ : นครศรีธรรมราช
ค. ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง : นครพนม
ง. ประเพณีการเล่นผีตาโขน : เลย
15.ข้อใดไม่ใช่ประเพณีของคนไทย
ก. ประเพณีบุญบั้งไฟ
ข. ประเพณีวันขึ้นปีใหม่
ค. ประเพณีสงกรานต์
ง. ประเพณีลอยกระทง
16. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับประเพณีในวันเพ็ญเดือนสิบสอง
ก. ประเพณีไหลเรือไฟ
ข. ประเพณียี่เป็ง
ค.ประเพณีงานปอยหลวง
ง. ประเพณีลอยกระทง
17. “วันเนา” ของประเพณีสงกรานต์ตรงกับวันใด
ก. 12 เมษายน
ข. 13 เมษายน
ค. 14 เมษายน
ง. 15 เมษายน
18. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเพณีแต่งงาน
ก. ขึ้นหอ
ข. สู่ขวัญ
ค. ขันหมาก
ง. หมั้น
19.เหล้า ต้นกล้วย ต้นอ้อย จัดอยู่ในส่วนใดของประเพณีแต่งงาน
ก. ค่าดอง
ข. สู่ขวัญ
ค. ขันหมากเอก
ง. ขันหมากโท
20. ประเพณีบายศรีสู่ขวัญมักพบอยู่ทุกจังหวัดทั้งภาคเหนือและอีสาน คำว่า “บายศรี” หมายถึงสิ่งใด
ก. ดอกไม้
ข. พาน
ค. ข้าว
ง. ด้ายขาว
เฉลย แนวข้อสอบ ครูผู้ช่วย ภาค ก ความรอบรู้ วัฒนธรรมไทยและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
1. ง., 2. ก., 3. ค., 4. ค., 5. ค., 6. ก., 7. ข., 8. ค., 9. ก., 10. ก., 11. ข., 12. ง., 13. ข., 14. ค., 15. ข., 16. ค., 17. ค., 18. ก., 19. ง., 20. ค.
รวบรวม เรียบเรียง จัดทำและเผยแพร่โดย : นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข